อาหารเกาหลีมีรสชาติและกลิ่นเฉพาะตัวสำหรับให้นักท่องเที่ยวมาลิ้มลอง อาหารเกาหลีมีแคลอรี่ต่ำ แต่ก็มีอุดมไปด้วยสารอาหารจากการใช้ผักหลายหลายชนิดเป็นเครื่องปรุง เพิ่มรสชาติด้วยกระเทียม,พริกแดง,หัวหอม,ซีอิ๋ว,ถั่วหมัก,ขิงและน้ำมันงา
จะเรียกว่ามาถึงเกาหลีไม่ได้เลยหากว่ายังไม่ได้ลองกิมจิ อาหารประเภทเครื่องเคียงเลื่องชื่อระดับนานาชาติ ทำจากผักกาด หมักด้วยพริกแดง ซึ่งชาวเกาหลีจะรับประทานกันเกือบทุกมื้อ กิมจิจะมีกว่า 200 ชนิด ต่างกันตามภูมิภาคและเครื่องปรุง
ส่วนอาหารที่ชาวตะวันตกนิยมกันมากก็คือ คาลบี และ พุลโกกิ ทั้งสอง ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อวัวก็ได้ คาลบีจะเป็นส่วนซี่โครง ส่วนพุลโกกิจะเป็นเนื้อแช่ในซอสผสมกระเทียมและ เครื่องเทศอื่นๆ จากนั้นจึงนำไปย่างทั้งสองจานมีรสชาติไม่จัดจ้าน สามารถย่างเองได้ที่โต๊ะ ลักษณะคล้ายกะทำบาบีคิว อาหารเลื่องชื่ออีกจานของเกาหลีคือ บิบิมบับ (ทำจากข้าว, ผัก,ไข่,และซอสพริก) เด็นจังจิเก (ซุปข้นทำจากถั่วหมักและผัก ไว้สำหรับรัปประทานพร้อมข้าว) เน็งเมียน (ก๋วยเตี๋ยวเส้นปรุงรสด้วยน้ำซุปเนื้อเย็น นิยม รับประทานในฤดูร้อน) ซัมเกทัง (เป็นซุปไก่ต้มโสมสำหรับบำรุงสุขภาพ)
การจัดโต๊ะและมารยาทในการรับประทานอาหาร
ครอบครัวเกาหลีนิยมรับประทานข้าว,ซุป,และเครื่องเคียงอีกสามสี่อย่างรวมทั้ง กิมจิ มีการจัดเรียงจากซ้ายไปขวาของผู้รับประทานดังนี้ ข้าว, ซุป, ช้อน, และตะเกียบส่วนสตูและเครื่องเคียงอื่นๆ จะวางกลางโต๊ะ รับประทานร่วมกับผู้ร่วมโต๊ะท่านอื่น ชาวเกาหลีจะใช้ช้อนรับประทานข้าว ซุป และสตู ส่วนตะเกียบใช้กับเครื่องเคียงอาหารแห้งอื่นๆ แต่ จะไม่ใช้ทั้งช้อนและตะเกียบพร้อมกัน และชาวเกาหลีจะไม่นิยมยกจาน หรือชามขึ้นมาขณะรับประทาน เมื่อรับประทานเสร็จแล้วจะวางช้อนและตะเกียบลงบนโต๊ะชาวเกาหลีเชื่อว่าการรับประทานอาหารร่วมจานกันจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ แต่หากต้องการจานชามส่วนตัวก็สามารถขอได้ และทุกวันนี้ร้านอาหารเกาหลีก็จะจัดชุดจานชามเฉพาะบุคคลให้ ในอดีตจะห้ามพูดคุยกันขณะรับประทานอาหาร แต่ปัจจุบันก็ไม่เคร่งครัดมากนัก
ฮันจองซิก (อาหารชุดเกาหลี)
ฮันจองซิก เป็นมื้อเต็มโต๊ะที่จัดอาหารมาเป็นชุดจุดกำเนิดอยู่ที่ในวัง หรือบ้านของเหล่าขุนนางผู้มีอันจะกิน ปกติจะเริ่มต้น เสริฟ์จากเรียกน้ำย่อยเป็นของเย็น ตามด้วยพวกข้าวต้มหรือโจ๊ก ต่อด้วยอาหารจานหลัก ซึ่งมีทั้งของต้ม ของทอด ของย่าง ของนึ่งหรือของหมัก รวมถึงหม้อไฟ และปิดท้ายด้วยของหวานพื้นเมืองอย่าง ชิเค (เครื่องดื่มขิงหวานทำจากข้าว) หรือ ซูจองควา (เครื่องดื่มของหวานทำจากอบเชยลูกพลัม) หรือของหวานอื่นๆ ซึ่งชุดอาหารที่เสิร์ฟนั้นจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาลและภูมิภาค
กิมจิ
กิมจิเป็นผักที่ใช้เวลาดองนาน ในอดีตชาวเกาหลีจะดองไว้แทนผักสดในช่วงฤดูหนาว แต่แม่บ้านเดี๋ยวนี้ยังคงเตรียมกิมจิสำหรับฤดูหนาวเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางแห่งเริ่มจากเดือนพฤศจิกายนไปจนต้นเดือนธันวาคม เราเรียกการมำกิมจิของทุกปีนี้ว่า กิมจัง จากยุโรปสู่ญี่ปุ่น พริกแดงเริ่มเข้ามายังเกาหลีในศตวรรษที่17 ทำให้ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของกิมจิ และอาหารเกาหลีทั่วไป ปัจจุบันมีกิมจิที่หลากหลาย กว่า 160 อย่างที่ตามไปตามท้องถิ่นและส่วนประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรสเผ็ด กิมจิเป็นอาหารพื้นฐานที่จะมีทุกมื้อของชาวเกาหลี และยังใช้เป็นเครื่องปรุงในการมำอาหารยอดนิยม ชนิดอื่นด้วย อย่างสตูกิมจิ,แพนเค้กกิมจิ,ข้าวผัดกิมจิ,กิมจิราเมียน (บะหมี่) กิมจิถูกพัฒนาปรับปรุงอย่างแพร่หลายเพื่อสรรหารสชาติใหม่ๆทุกวันนี้กิมจิได้รับความนิยมไปทั่วโลก เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการและยังป้องกันโรคอีกด้วย
อาหารพิเศษตามฤดูกาล
สังคมเกษตรกรรมในอดีต ชาวเกาหลีจะสนใจการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ในแต่ละเดือน ชาวบ้านจะมีขนบธรรมเนียมเฉพาะเพื่อเฉลิมฉลองและระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ และยังเอร็ดอร่อยกับอาหารพิเศษที่ทำจากวัตถุดิบที่หาได้ในฤดูนั้นๆ ในบรรดางานฉลองมากมาย มีอยู่ไม่มากที่ยังคงสืบทอดกันมาโดยทั่วไป
วันซอลลัล (วันปีใหม่เกาหลี,มกราคม)
ในวันแรกของปีใหม่ ชาวเกาหลีจะไหว้บรรพบุรุษ,ทำพิธีเซแบ (การคำนับญาติผู้ใหญ่อย่างเป็นทางการ)ซึ่งถือเป็นการอวยพรปีใหม่อาหารที่ต้องรับประมานในวันปีใหม่คือ ต้อกกุกซึ่งถ้าไม่ได้รับประทานจะถือว่าผ่านชีวิตมาอีกหนึ่งปีไม่ได้
วันชองวอล แทโบรึม
วันชองวอล แทโบรึม (วันพระจันทร์เต็มดวงครั้งแรก,กุมภาพันธ์) วันนี้ถือเป็นวันที่จะต้องขับไล่เรื่องร้าย และโชคไม่ดีต่างๆออกไป อาหารหลักสำหรับวันนี้คือ โอกกพับ ธัญพืช5อย่างต้ม: ข้าว,ถั่วต้ม,ถั่วจำพวกถั่วรูปไต,ข้าวจำพวกข้าวฟ้างหรือข้าวเดือยอีกสองอย่าง)และมูคึน นามุลเป็นผักแห้ง 9-12 ชนิด อย่าเช่น เห็ด, ใบต้นเรดดิช, รากต้นเบลฟลาวเออฯลฯ ในตอนเช้าของวันนี้ชาวบ้านจะกินวอลนัท ,เกาลัด หรือถั่วลิสง และจิบไวน์ที่ทำจากข้าว ภาวนาขอให้มีสุขภาพดีต่อไป
วันซัมบก (3วันที่ร้อนที่สุดในฤดูร้อน)
ซัมบกจะประกอบไปด้วยวันสามวันได้แก่ โชบก ชุงบก และมัลบก ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้น, วันตรงกลางและวันสิ้นสุด ช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดในฤดูของปีตามปฏิทินจันทรคติ ตั้งแต่โบราณชาวบ้านนิยมรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ปรุงร้อนๆ เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแรง ซึ่งอาหารหลักของวันซัมบกนี้คือ ซัมเทกัง,เป้นไก่ตุ๋นทั้งตัวยัดไส้ด้วยข้าวเหนียว,โสม,พุทรา และกระเทียม ปรุงรสด้วย เกลือและพริกไทย
วันชูซอก
วันชูซอก(วันขอบคุณพระเจ้าของวันเกาหลี,กันยายน) วันชูซอกและวันซอลลัลเป็นวันหยุดใหญ่ ในวันชูซอกชาวบ้านจะไปเยี่ยมสุสานของบรรพบุรุษเพื่อขอบคุณที่ทำให้เก็บเกี่ยวพืชผลได้ดี และครอบครัวอยู่ดีมีสุข อาหารพิเศษในวันนี้คือ ซองเพียน(ขนมทำจากข้าวรูปร่างเหมือนพระจันทร์เสี้ยว) และโตรันทัง(ซุปเผือก) ซองเพียน เป็นขนมข้าวสอดไส้ด้วยถั่ว,เกาลัด,พุทรา,หรือเมล็ดงาหวาน และนำไปนึงบนใบสน พร้อมกับผลไม้ใหม่ๆเด็ดจากต้น อาหารเหล่านี้จะใช้ วางบนโต๊ะพิธีเคารพบรรพบุรุษ
วันทงจิ
นทงจิ(วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมาก ที่สุดในฤดูหนาว ,ธันวาคม)วันทงจิเป็นวันที่สิ้นที่สุดของปี ในวันนี้ชาวเกาหลีจะรับประทาน พัทจุก เป็นถั่วแดงต้มใส่ข้าวปั้นเป็นรูปกลมๆลงไปด้วย เป็นความเชื่อตั้งแต่อดีตว่าถั่วแดงจะช่วยขับไล่วิญญาณร้ายและป้องกันโชคร้าย
ขนมพื้นบ้าน
ชาวเกาหลีพัฒนาของหวานและเครื่องดื่มมากมายจนได้ขนมขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางอาหาร และขนมหวานที่มีรสชาติอร่อย
ฮันกวา (คุกกี้และขนมพื้นบ้าน)
ฮันกวาเป็นขนมที่คนชื่นชอบเพราะรูปลักษณ์ สีสัน การตกแต่งที่สวยงาม และแน่นอนรสชาติที่หวานอร่อยนิยมรับประทานอาหารกับเครื่องดื่มพื้นเมือง และจัดได้ว่าเป็นขนมที่มีระดับ และดีต่อสุขภาพ การจัดฮันกวาใส่กล่องให้สวยงามสามารถใช้เป็นของขวัญชั้นเยี่ยมได้ โดยเฉพาะถ้ามอบให้กับญาติผู้ใหญ่ ขนมนี้สามารถหาซื้อได้จากร้านขนมพื้นเมืองและห้างสรรพสินค้า
ต๊อก (ขนมพื้นเมืองทำจากข้าว)
ต๊อกเป็นอาหารพื้นเมืองที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ชาวเกาหลีจะทำขนมชนิดนี้สำหรับงานรื่นเริงอย่างวันเกิด , วันแต่งงาน รวมทั้งสำหรับไหว้บรรพบุรุษ และวันสำหรับเทศกาลอย่าง วันซอลลัล (วันปีใหม่เกาหลี) และวันชูซอก (วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี)
ฮวาแช (เครื่องดื่มเย็นพื้นเมือง)
ฮวาแช ทำจากผลไม้หรือธัญพืช และน้ำ เพิ่มความหวานด้วยน้ำตาลหรือน้ำผึ้งอาจเพิ้มสีและกลิ่นด้วย โอทิจา (ผลของต้น 5 รส , ชิซานดรา .ชิเนซิส) หรืออาจทำจากสมุนไพร อย่าง ดอกอะวีเลียหรือเกสรต้นสนก๊ได้
ชาพื้นเมืองกาหลี
ชาเขียวถูกนำเข้ามาเกาหลี ครั้งแรกในสมัยราชินี ซอนต๊อก (ค.ศ. 632-647) แห่งอาณาจักชิลลา (57 ปีก่อน คริสตกาล – ค.ศ. 935) ชาช่วยขับไล่ความงัวเงีย และช่วยฟื้นฟูพลังงานและใจให้สดชื้น พระในพุทธศาสนาจึงดื่มชาเพื่อช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ในสมัยราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ. 918-1392) พุทธศาสนาเจริญถึงขีดสุด ในคาบสมุทร ทำให้มีการพัฒนาดาดด หรือ วิ๔แห่งชา ซึ่งก็คือขั้นตอนการชง การเสิร์ฟและการดื่มชา แต่ในช่วงราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) พุทธศาสนาเสื่อมถอยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธิขงจื้อ การดื่มชาจึงได้ลดความนิยมลง แต่ทุกวันนี้ความนิยมได้คืนกลับมา ทำให้การดื่มชาเป็นเรื่องของความทันสมัย และดีต่อสุขภาพ ธัญพืช,ผลไม้ สมุนไพร ใช้ในการชงชาได้ทั้งสิ้น ชาที่ได้รับความนิยมมากทุกวันนี้ได้แก่ อินซัมซา (ชาโสม) , นกชา (ชาเขียว) , ยูจาชา (ชาส้มจี๊ด) , แทชูชา (ชาพุทรา) , แซงคังชา (ชาขิง) , ยุลมูชา (ชาลูกเดือย) , โอทิจะชา (ชา 5 รส จากผลชิซานดรา ชิเนซิส) , กูกิจาชา (ชาจีนดื่มพิธีแต่งงาน) ฯลฯ หรือจะดื้มชาธัญพืช อย่างเช่น บอริชา (ชาข้าวบาเล่คั่ว) , อกซูซุชา (ชาข้าวโพดคั่ว), เกลเมียงจาชา (ชาจาก ผลชอง... อ๊อบตูชิฟาเลีย) ซึ่งเสริ์ฟเย็นแทนน้ำก็ได้
เหล้าและไวน์พื้นเมือง
เครื่องดื่มพื้นเมืองเกาหลีส่วนใหญ่ทำมาจากข้าว หรือธัญพืชอื่นๆ หรือมันฝรั่งหวาน ซึ่งมักจะผสมกับข้าวมอล์ท การแบ่งประเภทจะแบ่งตามความบริสุทธิ์ , เปอร์เซ็นแอลกฮอล์ , กลั่นหรือไม่กลั่นและใช้วัตถุดิบ ชนิดใดทำ ซึ่งจะแบ่งได้ห้าประเภทใหญ่ๆ คือ ยักจู (เหล้าบริสุทธิ์กลั้นจากข้าว) , โซจู (เหล้ากลั่น) , ทักจู (เหล้าข้นไม่กลั่นหมักจากธัญพืช) , เหล้าผลไม้, และเหล้ายาดองจากรากและเมล็ด สมุนไพรต่างๆ เหล้าที่ขึ้นชื่อของชองจู คือ ยักจูและมักกอลลียอดนิยม ก็คือ ทักจู อคาเซีย แมซิล พลัม, ไชนีส ควินซ์ , เชอรี่, ลูกสนและทับทิม นิยมกันมากสำหรับใช้ทำเหล้าผลไม้ อินซัมชู ก็เป็นเหล้าสมุนไพรอย่างหนึ่งทำจากโสม
อาหารริมถนน
การรับประทานอาหารในภัตรคารหรูนั้นแพงมาก แต่การลิ้มรสชาติอร่อยแบบนั้นก็สามารถทำได้ในราคาถูก ซึ่งหาได้ ตามร้านริม๔นน ไส้กรอก , เค้กปลา , อาหารรสจัดทำจากข้าว, เท็มปุระ , ไอศรีม เหล่านี้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ของอาหารหลากหลายที่มีจำหน่ายในราคาประหยัด
โพชังมาจา (ร้านรถเข็น)
ที่ซึ่งคุณสามารถบรรเทาอาการหิวได้ในราคาเพียง 2,000 วอน กับอาหารหลากหลายทั้งอาหารรสจัดทำจากข้าว, ของทอด ,และไส้กรอก คุรสามารถเจอร้านรถเข็นได้แถวถนนรอบๆมหาวิทยาลัยชองโน
ต๊อกป๊อกกี (อาหารรสจัดทำจากข้าว)
ต๊อกป๊อกกี เป็นอาหารที่ดัดแปลงมาจากอาหารพื้นเมืองชื่อ จับเช ที่ใส่เนื้อวัวแล่บางๆ และผักอีกหลายชนิด ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว จนเมื่อพริกแดงบดได้เข้ามาสู่เกาหลี จับเช จึงเปลี่ยนไปเป็นอาหารรสจัดรู้จักในปัจจุบันคือ ต๊อกป๊อกกี ราคาประมาณ 2000 วอน ซึ่งทำให้เราอิ่มได้เท่ากับอาหารหนึ่งมื้อ
ออมุก (ปลาบดเสียบไม้ทอด)
ปลาบดทำจากเนื้อปลาแท้ๆ ผสมด้วยผักสับละเอียดและแป้ง ปั้นเป็นก้อนเสียบไม้แล้วนำลงทอด ลูกค้าต้องต่อแถวเพื่อจะได้หน้าร้านเพื่อซื้อออมุกที่มุกที่ทำสดๆ นอกจากปลาบดแล้ว ก็สามารถนำอย่างอื่นมาเสียบไม้ได้อย่างฮ๊อตด็อก หรือไก่ย่างซ๊อสเผ็ดหวานก็เป็นที่นิยม และยังมีอีกหลายอย่างที่น่าลิ้มลอง อีกอย่างที่พร้อมรับประมานคือ ฮ๊อตด็อกสไตร์เกาหลี ซึ่งก็คือฮ๊อตดอ็อกห่อด้วยแป้งอบแร้วนำลงทอด ขายไม้ละ 1,000 – 2,000 วอน
ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : kto.or.th