โอกาสของแรงงานไทย

 ตลาดแรงงานต่างชาติในเกาหลีใต้ นับว่าเป็นตลาดแรงงานที่มีศักยภาพและเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากแรงงานต่างชาติได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเทียบเท่าคนในชาติ  รวมทั้งอัตราค่าจ้างแรงงานค่อนข้างสูง โดยค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2555  ชั่วโมงละ 4,580 วอน แรงงานไทยที่ทำสัญญาจ้างสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง จะได้ค่าจ้างเดือนละประมาณ 957,220 วอน สำหรับผู้ทำสัญญาจ้างสัปดาห์ละ 44 ชั่วโมง จะได้ค่าจ้างเดือนละประมาณ 1,035,080 วอน  เงินรายได้นี้ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและเงินรางวัลสิ้นสุดสัญญาจ้างเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยปีละ 1 เดือน
              แรงงานไทยที่ได้รับค่าจ้างและค่าล่วงเวลาตามกฎหมายแรงงาน สามารถส่งเงินกลับบ้านได้เฉลี่ยเดือนละ 25,000 – 30,000 บาท   แม้ว่าแรงงานไทยจะมีคู่แข่งในตลาดแรงงาน 15 ประเทศ  แต่แรงงานไทยยังเป็นแรงงานที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ  จากผลสำรวจความพึงพอใจของนายจ้างเมื่อเดือนธันวาคม 2553 ปรากฏว่าแรงงานไทยได้รับความพึงพอใจเป็นลำดับที่ 4 ดังนี้
โอกาสของแรงงานไทย
-->            อย่างไรก็ตาม  การกำหนดโควต้าแรงงานต่างชาติแต่ละปี มีปัจจัยหลักคือ  สภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้   ความพึงพอใจของนายจ้าง   อัตราส่วนของแรงงานผิดกฎหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับประเทศผู้ส่งแรงงาน  ปัจจุบันจำนวนแรงงาน EPS ของไทยอยู่ในลำดับ 4 (24,244 คน) รองจากประเทศเวียดนาม (55,795 คน)  ฟิลิปปินส์ (26,217 คน) และอินโดนีเซีย (24,732 คน) ตามลำดับ

                นอกจากนี้ เมื่อวันที่  8 กุมภาพันธ์ 2555 คณะทูตอาเชียน ประกอบด้วยอัครราชทูตที่ปรึกษา ประเทศฟิลิปปินส์  พม่า บังคลาเทศ และประทศไทย ได้เข้าร่วมหารือกับนาย Kang Seong  Cheon สส. พรรค Grand National Party และกลุ่ม สส. พรรครัฐบาลที่ร่วมกันเสนอร่างแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างชาติภายใต้ระบบ EPS เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการผ่อนผันให้แรงงานที่ทำงานครบตามสัญญา 4 ปี 10 เดือน  สามารถเดินทางกลับเข้าทำงานที่เกาหลีได้โดยไม่ต้องสอบภาษาเกาหลีและไม่ต้องเข้ารับการอบรมอีกครั้ง รวมทั้งลดระยะเวลาการกลับไปพำนักในประเทศของตนจาก     6 เดือนเป็น 3 เดือน ซึ่งจะช่วยป้องกัน และแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามฝ่ายฟิลิปปินส์และฝ่ายไทยได้หยิบประเด็นเรื่องเพดานอายุของแรงงานต่างชาติที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 40 ปี ณ วันเดินทางซึ่งในร่างกฎหมายฉบับแก้ไขยังระบุไว้เท่าเดิม และอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนงานที่มีอายุครบเกณฑ์ดังกล่าวตัดสินใจลักลอบทำงานต่อโดยผิดกฎหมาย รวมทั้งได้สอบถามเรื่องประเภทของงานที่ได้รับการผ่อนผันตามกฎหมายที่แก้ไขดังกล่าว ซึ่งในเรื่องนี้ผู้แทนกระทรวงการจ้างงานและแรงงานได้ชี้แจงว่า เกาหลีใต้ยังให้ความสำคัญต่อการจ้างแรงงานชาวเกาหลีใต้เป็นอันดับแรก และจ้างแรงงานต่างชาติในกรณีที่มีความขาดแคลนเท่านั้น ทั้งนี้ประเภทงานที่จะผ่อนผันดังกล่าวจะครอบคลุม     3 ภาค ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม การผลิต การเกษตร / ประมง และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงเท่านั้น

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล