ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว ตอน 1



 การจ้างแรงงานต่างด้าวและวีซ่า
แรงงานต่างด้าวที่ประสงค์จะได้รับการจ้างงานในสาธารณรัฐเกาหลีจะต้องมีวีซ่าตาม [ รัฐบัญญัติ ว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง] เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้ 

ทั้งนี้การจ้างแรงงานต่างด้าวจะถูกจำกัดตามรายการของประเภทอุตสาหกรรมที่ สาธารณรัฐเกาหลีได้กำหนดไว้ โดยขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า
 คำจำกัดความและสถานะทางกฎหมายของแรงงานต่างด้าว
 "คนงานต่างด้าว" คือใคร?
ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว- คำว่า“แรงงานต่างด้าว” หมายถึงบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองของสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งได้ให้บริการด้านแรงงานแก่ธุรกิจหรือธุรกิจอันมีที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลี (วรรคหลักแห่งมาตรา 2 ของ[รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว])
 สถานะทางกฎหมายของคนงานต่างด้าว
- รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวถือว่าแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานในลักษณะเดียวกันกับแรงงานในท้องถิ่นดังนั้นรัฐบัญญัติว่าด้วยการแรงงานและรัฐบัญญัติอื่นๆรวมทั้งรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงานและรัฐบัญญัติว่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลบังคับใช้กับแรงงานต่างด้าวในรูปแบบเดียวกันกับแรงงานในท้องถิ่นในระหว่างที่มีการจ้างงานด้วย
- อย่างไรก็ตามในกรณีของการจ้างแม่บ้านรัฐบัญญัติและรัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ดังนั้นจำนวนชั่วโมงทำงานการเลิกจ้างวันหยุดการลาและเงื่อนไขการทำงานอื่นใดทั้งหมดจึงสามารถถูกกำหนดอย่างไรก็ได้และสามารถกำหนดเป็นสัญญากับนายจ้างโดยไม่ถือว่าละเมิดข้อกำหนดในประมวลกฎหมายแพ่ง (มาตรา 11.1 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงทำงานการพักผ่อนและวันหยุดในรัฐบัญญัติว่าด้วยแรงงานมาตรฐานจะไม่มีผลบังคับใช้กับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในด้านเกษตรกรรมป่าไม้ปศุสัตว์และประมง (มาตรา 63.1 และ 63.2 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน)
 การจ้างแรงงานต่างด้าวและวีซ่า
 การขอรับวีซ่าอนุญาตการทำงาน
- แรงงานต่างด้าวที่ประสงค์จะได้รับการจ้างงานในสาธารณรัฐเกาหลีต้องได้รับวีซ่าที่อนุญาตให้ทำงานได้ภายใต้[รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง[(มาตรา 18.(1) แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง])
※ การว่าจ้างแรงงานต่างด้าวผู้ไม่มีวีซ่าที่ถูกต้องทำงานมีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปีหรือปรับสูงสุด 20 ล้านวอนภายใต้วรรคย่อย 8 ของมาตรา 94 แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]
※ การว่าจ้างหรือในรูปแบบธุรกิจการแนะนำและเตรียมการจ้างแรงงานต่างด้าวผู้ไม่มีวีซ่าที่ถูกต้องถือว่าผิดกฎหมายและเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปีหรือปรับสูงสุด 20 ล้านวอน([รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 94 วรรคย่อย 9 และ 10)
 วีซ่าที่อนุญาตให้มีการจ้างแรงงาน
- คุณสมบัติของการเข้าพักอาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีของแรงงานต่างด้าวที่สามารถทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี
ได้นั้นได้ระบุไว้ในตารางด้านล่างในกรณีนี้ 'การจ้างแรงงาน' ได้แก่กิจกรรมภายใต้ขอบเขตคุณสมบัติของการเข้าประเทศที่สอดคล้องกัน (มาตรา 23 และภาคผนวก 1 แห่ง[รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง])
คุณสมบัติการ
อาศัยในประเทศ
แรงงานต่างด้าวที่มีคุณสมบัติได้พักอาศัยในประเทศและขอบเขตการทำงาน
1. การจ้างงานระยะสั้น (C-4)
แรงงานต่างด้าวที่มีความประสงค์ประกอบอาชีพชั่วคราวเพื่อแลกกับค่าตอบแทนรวมถึงด้านความบันเทิงชั่วคราวการโฆษณา/เดินแบบแฟชั่นการสอน/ปราศรัยวิจัยหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี
2. อาจารย์
(E-1)
[รัฐบัญญัติว่าด้วยการศึกษาขั้นสูง]ที่มีความประสงค์ที่จะสอนด้านสาขาใดเป็นการเฉพาะหรือประกอบกิจกรรมด้านการวิจัยในสถาบันการศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับ
วิทยาลัยหรือเทียบเท่า
3. ผู้สอนภาษาต่าง
ประเทศ (E-2)
แรงงานต่างด้าวที่มีความประสงค์จะสอนในโรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศ
หรือสถาบันการศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาอันมีลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด
4. การวิจัย (E-3)
แรงงานต่างด้าวที่มีความประสงค์จะทำงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
หรือการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมในสถาบันวิจัยโดยได้รับการเชื้อเชิญจากองค์กรภาครัฐ/ภาคเอกชนของสาธารณรัฐเกาหลีโดยไม่รวมผู้ที่อยู่ในหมวดอาจารย์ (E-1)
5. การถ่ายทอดเทคโนโลยี (E-4)
แรงงานต่างด้าวที่ได้รับเชื้อเชิญโดยองค์กรภาครัฐ/ภาคเอกชนของสาธารณรัฐเกาหลีให้สอนเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือความรู้ทางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะที่ต้องใช้ความชำนาญ
6. การจ้างงานด้านวิชาชีพ
(E-5)
แรงงานต่างด้าวที่ถือว่าเป็นทนายความตามที่กฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลีกำหนด นักบัญชีที่ได้รับการรับรอง แพทย์ หรือวิชาชีพอื่นที่ได้รับการยอมรับโดยกฎหมาย ในประเทศต่างๆ เว้นแต่ผู้ที่จัดให้มีสถานะได้รับวีซ่าประเภทอาจารย์ (E-1)
7. ศิลปินและนักแสดง       (E-6)
แรงงานต่างด้าวที่มีความประสงค์ดำเนินกิจกรรมด้านดนตรีศิลปะวรรณกรรมเพื่อแสวงหากำไรรวมถึงความบันเทิงการแสดงดนตรีละครเกมกีฬาโฆษณาแสดงแบบแฟชั่นและเทียบเท่า
8. อาชีพพิเศษ    (E-7)
แรงงานต่างด้าวที่มีความประสงค์ดำเนินกิจกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดขึ้นโดยผ่านทางสัญญากับองค์กรภาครัฐ/ภาคเอกชนของสาธารณรัฐเกาหลี
※สำหรับกิจกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดนั้น โปรดดูจากเว็บไซต์ ของศูนย์บริการการเข้าเมืองแห่งประเทศเกาหลี www.immigration.go.kr.
9. การจ้างงานที่มิใช่ด้านวิชาชีพ (E-9)
แรงงานต่างด้าวที่มีคุณสมบัติภายใต้「รัฐบัญญัติเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว」ที่ประกอบอาชีพในประเทศ [ไม่รวมวิชาชีพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญซึ่งต้องมีใบอนุญาตหรือประสบการณ์เป็นพิเศษ]
10. ลูกเรือ
(E-10)
แรงงานต่างด้าวที่มีความประสงค์ได้รับการจ้างงานภายใต้ข้อ 1 และ 2 ของมาตรา 3 และข้อ 1 ของมาตรา 23 แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการขนส่งทางเรือ」ในการขนส่งผู้โดยสารตามชายฝั่งประจำการขนส่งผู้โดยสารตามชายฝั่งไม่ประจำและการขนส่งสินค้าตามชายฝั่ง (「รัฐบัญญัติว่าด้วยการขนส่งทางเรือ]วรรคย่อย 1 และ 2 ของมาตรา 3 และวรรคย่อย 1 ของมาตรา 23) หรือในการประมงที่ใช้แหและการประมงชายฝั่ง (「รัฐบัญญัติว่าด้วยการประมง」มาตรา 8.(1).1 และ 43.(1).1) และบุคคลที่ลงนามในสัญญาว่าจะให้บริการด้านกะลาสีในกิจการเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในฐานะลูกเรือตามวรรคย่อย 5 ของมาตรา 3 แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการเดินทะเล]
11. ผู้อาศัย
(F-2)
ก.คู่สมรสและเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นพลเมืองเกาหลีหรือบุคคลที่มีสถานะเป็นผู้อาศัยถาวร (F-5)
ข. เด็กที่เกิดจากการสมรสกับชาวเกาหลี (รวมถึงการสมรสโดยพฤตินัย) และมารดาหรือบิดาที่เลี้ยงดูเด็กนั้นได้รับการยอมรับจากกระทรวงยุติธรรม
ค. คนต่างด้าวที่เป็นผู้อพยพ
ง. คนต่างด้าวที่เข้ามาพักอาศัยในประเทศอย่างน้อย
3 ปี และมีความประสงค์จะเข้าประเทศโดยใช้วีซ่าประเภท D-8 ที่ได้รับมาก่อนหน้าซึ่งถูกส่งไปยังต่างประเทศที่ทำการลงทุนภายใต้[รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ]โดยผู้ประกอบการต่างด้าวที่มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่าห้าแสนเหรียญดอลล่าร์สหรัฐและเป็นผู้ทำงานในบริษัทที่ทำการลงทุนต่างประเทศภายใต้[รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ]
จ. แรงงานต่างด้าวที่มีวีซ่าประเภทที่มิใช่ (A-1) ถึง (A-3) ผู้อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างน้อย 7 ปี ตามบันทึกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและมีความประสงค์จะให้บริการในสาขาเดิมต่อไปตามประเภทวีซ่าที่ได้รับอนุญาตมาก่อนอย่างไรก็ตามระยะเวลาขั้นต่ำสำหรับวีซ่าประเภทอาจารย์ (E-1) โดยผ่านทางการจ้างงานด้านวิชาชีพ (E-5) หรือกิจกรรมพิเศษที่กำหนด (E-7) จะเป็น 5 ปี
ฉ. บุคคลที่ประกอบอาชีพภายใต้ประเภทการจ้างงานที่มิใช่ด้านวิชาชีพ (E-9) ลูกเรือ (E-10) หรือการเข้าเยี่ยมเยือนโดยมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (H-2) ซึ่งทำงานมาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปีตามบันทึกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาผู้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้และต้องการประกอบอาชีพเดิมตามประเภทวีซ่าที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน
1)บุคคลที่มีใบอนุญาตด้านเทคโนโลยีและ/หรือความเชี่ยวชาญตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดและ/หรือได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด [ดูคำแนะนำเรื่องการเปลี่ยนประเภทวีซ่าและการจัดการด้านผู้อยู่อาศัยของวีซ่าสำหรับผู้อาศัย (F-2) สำหรับแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านผลิตที่เป็นคนต่างด้าว (ดูคำสั่งกระทรวงยุติธรรมที่ 603) สำหรับประเภทของใบอนุญาตด้านเทคโนโลยีและ/หรือความเชี่ยวชาญและเกณฑ์ค่าจ้าง ];
2) บุคคลที่มีจำนวนไม่ต่ำกว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด;
3)ผู้ใหญ่ตามคำจำกัดความของประมวลกฎหมายแพ่งที่มีความประพฤติดีและมีความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตในสาธารณรัฐเกาหลี
ช. บุคคลที่มีคุณสมบัติครบด้านอายุ การศึกษา รายได้ ฯลฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศ
ฌ. คู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตามข้อ ช.
ญ.แรงงานต่างด้าวที่ทำการลงทุนในทรัพย์สินรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณสมบัติด้านสถานที่ตั้งเป้าหมายและขนาดของการลงทุนตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศ
12. ชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ (F-4)
บุคคลที่จัดว่าเป็นชนชาติเกาหลีซึ่งเป็นพลเมืองต่างแดนยกเว้นผู้ที่มีความประสงค์จะประกอบอาชีพดังต่อไปนี้
ก. กรรมกรผู้ใช้แรงงานปกติ
ข.ธุรกิจเก็งกำไรหรือกิจกรรมอื่นที่มีการเก็งกำไรหรือที่เป็นอันตรายต่อศีลธรรมอันดีงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
ค.ธุรกิจอื่นที่ต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนหรือความเป็นระเบียบในตลาด
แรงงานเกาหลี
13. ผู้อยู่อาศัยถาวร (F-5)
บุคคลที่ไม่ถูกขับไล่ภายใต้มาตรา 46(1) แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]ที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
ก. ผู้ใหญ่ภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยการพลเมืองที่สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้มีความประพฤติดีและมีความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตในสาธารณรัฐเกาหลีตามที่กำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการยุติธรรมที่อยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีภายใต้วีซ่าประเภท D-7 ถึง E-7 เว้นแต่ E-6 (ศิลปินและความบันเทิง)
ข. บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือคู่สมรสของผู้ถือวีซ่าประเภทพลเมืองหรือผู้อาศัยถาวร(F-5) ที่อาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างน้อย2 ปีหรือได้สมัครขอรับวีซ่าภายใต้มาตรา 23 ของรัฐบัญญัติด้วยเหตุที่เกิดในสาธารณรัฐเกาหลีโดยมีบิดาหรือมารดาถือวีซ่าประเภทผู้อาศัยถาวร (F-4) ในสาธารณรัฐเกาหลีณเวลาที่เกิด
ค. ผู้ลงทุนต่างด้าวที่ทำการลงทุนอย่างน้อย 500,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐตาม[รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ]ที่มีการจ้างงานพลเมืองชาวเกาหลีอย่างน้อย 5 คน
ง. บุคคลที่อาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้วีซ่าประเภท F-4 (ชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดน) อย่างน้อย 2 ปีที่มีเหตุผลในการอาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยอมรับเนื่องจากมีความสามารถทางการเงินในการเลี้ยงดูตนเองมีความประพฤติดีและมีกิริยาพื้นฐานที่เข้ากับลักษณะของท้องถิ่นเป็นต้น
จ. ชนชาติเกาหลีที่เป็นพลเมืองต่างด้าวภายใต้มาตรา 2(2) แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการอพยพเข้าเมืองและสถานะทางกฎหมายของชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดน ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติต้องห้ามที่จะได้รับสัญชาติเกาหลีใต้ภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยสัญชาติ
ฉ. บุคคลที่ถือวีซ่าประเภท F-2(รวมถึงบุคคลที่ถือวีซ่าประเภทที่เทียบเท่ากันมาก่อน) ภายใต้ภาคผนวก 1 ข้อ 27
แห่งรัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง (เป็นบทบัญญัติที่ถูกแก้ไขบางส่วนให้เป็นรัฐกฤษฎีกาของประธานาธิบดีที่ 19579 และไม่มีผลบังคับจนประกาศใช้ณวันที่ 18 เมษายน 2545) ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีเนื่องจากมีความสามารถทางการเงินในการเลี้ยงดูตัวเองและมีความประพฤติดีและมีกิริยาพื้นฐานที่เข้ากับลักษณะของท้องถิ่นเป็นต้น
ช.บุคคลที่ได้รับปริญญาเอกในสาขาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดที่ทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีณเวลาที่สมัครขอรับวีซ่าประเภท F-5
ฌ.บุคคลที่ได้รับปริญญาเอกในสาขาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดหรือมี
ใบอนุญาตทางเทคนิคตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างน้อยสามปีซึ่งทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีณเวลาที่สมัครขอรับวีซ่าประเภท F-5 โดยได้รับค่าจ้างไม่ต่ำ
กว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดไว้เบื้องต้น
ญ. บุคคลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยอมรับว่ามีทักษะในด้านวิทยาศาสตร์การจัดการธุรกิจการศึกษาวัฒนธรรมและศิลปะและกีฬาที่เยี่ยมยอดเป็นต้น
ฎ.บุคคลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยอมรับว่าได้อุทิศตนอย่างพิเศษแก่สังคมของสาธารณรัฐเกาหลี
ฏ.บุคคลที่มีอายุ60ปีหรือมากกว่าที่ได้รับบำนาญจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่าจำนวนที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด
ฐ.บุคคลที่ประกอบอาชีพภายใต้วีซ่าประเภทการเข้าเยี่ยมเยือน(H-2)โดยมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขข้อ 1) ถึง 3) ในข้อ ฉ. ของวีซ่าประเภท 11 ผู้อาศัย (F-2) ที่มีระยะเวลาการทำงาน สถานที่ทำงาน ประเภทของอุตสาหกรรม ความขาดแคลนแรงงาน สิทธิพิเศษในการทำงานในประเทศ เป็นต้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยอมรับ
ฑ. บุคคลที่อยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างน้อย 3 ปีที่มีคุณสมบัติตามข้อช. ของวีซ่าประเภท 11 ผู้อาศัย (F-2) และการอาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีถือว่ามีความจำเป็นเมื่อพิจารณาจากความสามารถในการเลี้ยงดูตัวเองความประพฤติดีและมีความรู้พื้นฐานเป็นต้นตามที่พิจารณาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ฒ. บุคคลที่อยู่ในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างน้อย 5 ปีที่มีคุณสมบัติตามข้อญ. ของวีซ่าประเภท 11 ผู้อาศัย (F-2) และการอาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีถือว่ามีความจำเป็นเมื่อพิจารณาจากความสามารถในการเลี้ยงดูตัวเองความประพฤติดีและมีความรู้พื้นฐานเป็นต้นตามที่พิจารณาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
14. การทำงานในวันหยุด  (H-1)
แรงงานต่างด้าวที่เป็นพลเมืองในประเทศที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาหรือ MOU เรื่องการทำงานในวันหยุดกับสาธารณรัฐเกาลีที่เข้าเยี่ยมเยือนสาธารณรัฐเกาหลีโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการท่องเที่ยวและทำงานในระยะสั้นเพื่อนำเงินมาใช้เพื่อการท่องเที่ยว (ยกเว้นธุรกิจที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสนธิสัญญาเป็นต้นและ/หรือบุคคลที่หางานในสาขาที่ต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้เบื้องต้น)
15. Working Visit   (H-2)
ก. บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีที่มีคุณสมบัติได้รับวีซ่าประเภทนี้ ชนชาติเกาหลีที่เป็นพลเมืองของต่างประเทศ (ตามทีระบุไว้ในพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมการเข้าเมืองและสถานะทางกฎหมายของชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดน วรรคย่อย 2 ของมาตรา 2) ที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้และต้องการอาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้วีซ่าที่อนุญาตให้ทำกิจกรรมที่ระบุในข้อ (ข) และเป็นผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยอมรับ [ไม่รวมประเภทชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดน (F-4)]
1) บุคคลที่เกิดมาเป็นพลเมืองเกาหลีที่ลงทะเบียนในทะเบียนราษฎร์ของเกาหลีหรือได้ย้ายออกจากทะเบียนราษฎร์ของเกาหลีและ/หรือเป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากบุคคลดังกล่าว
2) ผู้ที่พลเมืองชาวเกาหลีได้เชื้อเชิญเข้ามาที่เป็นญาติโดยสายเลือดในลำดับใกล้ชิดกว่าลำดับ 3 หรือญาติโดยความใกล้ชิดในลำดับแรกและมีที่อยู่อาศัยในสาธารณรัฐเกาหลี
3) ผู้ที่จัดว่าเป็น‘ผู้เข้าร่วมในขบวนการอิสระ’หรือ‘ผู้เข้าร่วมในการทำคุณความดีให้กับสาธารณรัฐเกาหลีและสมาชิกครอบครัว’ ตามที่ระบุไว้ใน (ข้อ 4 แห่ง ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติที่ให้เกียรติและสนับสนุนบุคคลแห่งชาติที่ได้รับเครื่องประดับยศ]มาตรา 4)([รัฐบัญญัติการปฏิบัติที่ให้เกียรติแก่บุคคลอิสระที่ได้รับเครื่องประดับยศ]มาตรา 4)
4) ผู้ที่ทำคุณความดีให้แก่ประเทศเกาหลีหรืออุทิศตนเพื่อผลประโยชน์ของชาติ;
5) ผู้ถือวีซ่าศึกษาเล่าเรียนต่างด้าว (D-2) ที่เข้ารับการศึกษาในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาและต้องการเชื้อเชิญคู่สมรสและพ่อแม่เข้าเยี่ยมเยียน
6) ผู้ที่อาสาสมัครออกจากสาธารณรัฐเกาหลีตามมาตรฐานหรือวิธีที่หัวหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสั่ง
7) ผู้ที่ไม่จัดอยู่ภายใต้ข้อ 1) ถึง 6) ที่ได้รับเลือกโดยผ่านการทดสอบประสิทธิภาพด้านภาษาเกาหลีที่จัดขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[[ประกาศแผนการคัดเลือกชนชาติเกาหลีที่อยู่ต่างแดนให้มีสิทธิเข้าเยี่ยมเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจสำหรับผู้ที่ไม่มีญาติที่มีชีวิตอยู่ในประเทศเกาหลีปี 2551](ประกาศทั่วไปของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ 2008-15)] หรือโดยการจับ สลาก
ข. ประเภทของกิจกรรมที่ได้รับอนุญาต
1) การเข้าเยี่ยมการเข้าอาศัยชั่วคราวร่วมกับญาติท่องเที่ยวการเข้ารับการรักษาทางการแพทย์การเรียนนอกสถานที่การแข่งขันเพื่อกระชับความสัมพันธ์กิจกรรมทางวัฒนธรรมและศิลปะขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไรการเข้าร่วมประชุมการหาข้อมูลทางวิชาการการสำรวจตลาดการติดต่อทางธุรกิจการเข้าลงนามในข้อตกลงและธุรกิจอื่นหรือกิจกรรมทางพาณิชย์อื่นที่มีวัตถุประสงค์ดังเช่นสิ่งที่กล่าวมา
2)การเข้าร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (การจ้างงานตามกำหนดจำนวนที่ระบุในใบรับรองการรับพนักงานพิเศษที่ออกให้แก่นายจ้างโดยหัวหน้าสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางการจ้างงาน)
(1) การปลูกพืช (011)
(2) การเลี้ยงสัตว์ (012)
(3) การประมงตามชายฝั่ง (03112)
(4) การประมงเลียบชาวฝั่ง (0321)
(5) การผลิต (10~33)
(6) การบำบัดท่าระบายน้ำ น้ำเสีย และการบำบัดของเสียโดยมนุษย์ (37)
(7) การรวมรวมและถ่านของเสียและการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ประโยชน์(38)
(8) การก่อสร้าง (41~42)
(9) การค้าส่งปศุสัตว์ (46205)
(10) ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมอุตสาหกรรมอื่นและการค้าส่งปศุสัตว์ (46209)
(11) การค้าส่งสินค้าในครัวเรือน (464)
(12) การค้าส่งเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (465)
(13) การรวบรวมและขายต่อวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ (46791)
(14) การค้าปลีกของใช้ในครัวเรือน (475)
(15) การค้าปลีกสินค้าอื่นเป็นการเฉพาะ (478)
(16) การค้าปลีกนอกร้านค้า (479)
(17) บริการรับส่งผู้โดยสารภาคพื้นดิน (492)
(18) ที่เก็บของเย็น (52102)
(19) ธุรกิจโรงแรม เว้นแต่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะโรงแรมสำหรับการท่องเที่ยวระดับ 1 2 และ 3 ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการท่องเที่ยว
(20) ธุรกิจโรงแรมประเภทโมเต็ล (55112)
อย่างไรก็ตาม จะใช้บังคับเฉพาะบุคคลที่มีอายุมากกว่า 45 ปีบริบูรณ์ที่มีสัญชาติต่างด้าวโดยไม่คำนึงถึงที่ระบุในข้อ ก. ข้างต้น
(21) ร้านอาหารทั่วไป (5611)
(22) ร้านอาหารอื่นๆ (5619)
(23) การพิมพ์หนังสือ นิตยาสารและสื่อพิมพ์อื่นๆ (581)
(24) การผลิตเพลงและสื่อการฟังอื่นๆ (59201)
(25) การบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกของธุรกิจและบริการซ่อมแซมต่างๆ (741)
(26) การบริการดูแลทำความสะอาดอาคาร (74211)
(27) การทำความสะอาดสิ่งอำนวยความสะดวกทางธุรกิจและอุตสาหกรรม (74212)
(28) สำนักงานการท่องเที่ยวและการบริการให้ความช่วยเหลือด้านท่องเที่ยวอื่น (752)
(29) การบริการสวัสดิการสังคม (87)
(30) การซ่อมแซมยานยนต์ทั่วไป (95211)
(31) การซ่อมแซมยานยนต์พิเศษ (95212)
(32) การซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ (9522)
(33) โรงอาบน้ำสาธารณะ (96121)
(34) ร้านซักรีด (96911)
(35) ผู้ดูแลและพยาบาลส่วนตัว (96993)
(36) กิจกรรมทางการผลิตเพื่อปัจเจกบริโภคและกิจกรรมในครัวเรือน (97~98)

อ่านเพิ่มเติม... ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว ตอน 2
-->


ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : oneclick.law.go.kr