ระบบกฏหมายในเกาหลี


ระบบกฏหมายในเกาหลี
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่สำคัญๆ ของเกาหลีใต้
(ก) กฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน กฎหมายการจ้างงานประกอบไปด้วยกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายแรงงานต่างๆ ปรากฎในกฎหมายรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ฉบับปี ค.ศ. 1987 ในมาตราที่ 32 วรรค 3 โดยได้กล่าวถึงมาตรฐานสภาพการทำงานจะต้องเป็นไปตามกฎหมายในระดับที่สามารถ รับประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้

* กฎหมายแรงงานมาตรฐาน (Labour Standard Act)
วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้เพื่อระบุหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในสัญญาว่าจ้าง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายฉบับบนี้มีพัฒนาการไปในทิศทางการปรับตัวไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมของตลาดแรงงานและความพยายามในการเสริมสร้างระดับการคุ้มครองแรงงาน ผ่านการสร้างเสถียรภาพในการจ้างงาน

* กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ (Minimum Wage Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1986 โดยได้อนุญาตให้รัฐบาลสามารกำหนดระดับค่าแรงขั้นต่ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมงจะอยู่ที่ 4,000 วอน ต่อชั่วโมง ค่าแรงรายวัน (ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน) จะได้รับ 32,000 วอน ต่อวัน ค่าแรง รายเดือน (ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) จะได้รับ 836,000 วอน และค่าแรงรายเดือน (ทำงาน 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) จะได้รับ 904,000 วอน ตามลำดับ

* กฎหมายความเท่าเทียมในโอกาสการจ้างงาน (Equal Employment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1987 กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันโอกาสและการปฏิบัติที่เท่าเทียม ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการจ้างงาน นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังระบุถึงการพัฒนาสถานะทางสังคมของแรงงานสตรี

* กฎหมายความปลอดภัยทางอุตสาหกรรมและสุขภาพ (Industrial Safety and Health Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมและ การสร้างสภาพแวดล้อมทางการทำงานที่เหมาะสมสำหรับแรงงาน

* กฎหมายประกันการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม (Industrial Accidnet Compensation Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุจากการทำงานอย่าง รวดเร็วและเป็นธรรมภายใต้ระบบการประกันภัย
(ข) กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ (Collective Labour Relations)

* กฎหมายสหภาพการค้าและการปรับปรุงแรงงานสัมพันธ์ (Trade Union and Labour Relations Adjustment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงสภาพการทำงาน รวมทั้งสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานโดยให้แรงงานสามารถมีสิทธิในการ รวมตัว ต่อรองและดำเนินการร่วมกัน กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นหลักการการต่อรองร่วมกัน การจัดการปัญหาข้อพิพาททางแรงงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

* กฎหมายคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์ (Labour Relations Commission Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์เพื่อ พัฒนาแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์มีลักษณะเป็นไตรภาคี ประกอบ ไปด้วยผู้แทนจากฝ่ายแรงงาน นายจ้างและกลุ่มสาธารณชนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ข้อควรรู้เมื่อจะพิจารณาจ้างแรงงาน
1. ในการจ้างงานนั้น นายจ้างต้องให้โอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมระหว่างชายและหญิง นายจ้างจะต้องไม่เลือกประติบัติต่อผู้หญิงโดยเหตุผลทางความแตกต่างทางเพศใน การกำหนดขั้นเงินเดือน การศึกษา/ฝึกอบรม การเลื่อนขั้น การเกษียณอายุ ฯลฯ
2. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 30 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานที่มีความพิการจำนวนมากกว่าร้อยละ 2 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบจะต้องเสียค่าปรับ
3. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 300 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานพ้นวัยเกษียณจำนวนมากกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด
4. ด้วยเหตุผลของความปลอดภัย นายจ้างจะต้องไม่จ้างแรงงานที่ไม่มีคุณสมบัติในการทำงาน ปราศจากใบอนุญาตทำงานหรือทักษะในการทำงานที่อันตราย อาทิ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี
5. สตรีและเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีไม่สามารถปฏิบัติงานอันตรายได้ นอกจากนี้ นายจ้างไม่สามารถจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี โดยไม่มีใบอนุญาตทำงานซึ่งออกโดยกระทรวงแรงงานเกาหลีใต้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่สำคัญๆ ของเกาหลีใต้
(ก) กฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน กฎหมายการจ้างงานประกอบไปด้วยกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายแรงงานต่างๆ ปรากฎในกฎหมายรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ฉบับปี ค.ศ. 1987 ในมาตราที่ 32 วรรค 3 โดยได้กล่าวถึงมาตรฐานสภาพการทำงานจะต้องเป็นไปตามกฎหมายในระดับที่สามารถ รับประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้

* กฎหมายแรงงานมาตรฐาน (Labour Standard Act)
วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้เพื่อระบุหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในสัญญาว่าจ้าง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายฉบับบนี้มีพัฒนาการไปในทิศทางการปรับตัวไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมของตลาดแรงงานและความพยายามในการเสริมสร้างระดับการคุ้มครองแรงงาน ผ่านการสร้างเสถียรภาพในการจ้างงาน

* กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ (Minimum Wage Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1986 โดยได้อนุญาตให้รัฐบาลสามารกำหนดระดับค่าแรงขั้นต่ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ค่าแรงขั้นต่ำ สามารถอ่านรายละเอียด คลิกที่นี่

* กฎหมายความเท่าเทียมในโอกาสการจ้างงาน (Equal Employment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1987 กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันโอกาสและการปฏิบัติที่เท่าเทียม ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการจ้างงาน นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังระบุถึงการพัฒนาสถานะทางสังคมของแรงงานสตรี

* กฎหมายความปลอดภัยทางอุตสาหกรรมและสุขภาพ (Industrial Safety and Health Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมและ การสร้างสภาพแวดล้อมทางการทำงานที่เหมาะสมสำหรับแรงงาน

* กฎหมายประกันการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม (Industrial Accidnet Compensation Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุจากการทำงานอย่าง รวดเร็วและเป็นธรรมภายใต้ระบบการประกันภัย
(ข) กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ (Collective Labour Relations)

* กฎหมายสหภาพการค้าและการปรับปรุงแรงงานสัมพันธ์ (Trade Union and Labour Relations Adjustment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงสภาพการทำงาน รวมทั้งสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานโดยให้แรงงานสามารถมีสิทธิในการ รวมตัว ต่อรองและดำเนินการร่วมกัน กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นหลักการการต่อรองร่วมกัน การจัดการปัญหาข้อพิพาททางแรงงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

* กฎหมายคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์ (Labour Relations Commission Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์เพื่อ พัฒนาแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์มีลักษณะเป็นไตรภาคี ประกอบ ไปด้วยผู้แทนจากฝ่ายแรงงาน นายจ้างและกลุ่มสาธารณชนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ข้อควรรู้เมื่อจะพิจารณาจ้างแรงงาน
1. ในการจ้างงานนั้น นายจ้างต้องให้โอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมระหว่างชายและหญิง นายจ้างจะต้องไม่เลือกประติบัติต่อผู้หญิงโดยเหตุผลทางความแตกต่างทางเพศใน การกำหนดขั้นเงินเดือน การศึกษา/ฝึกอบรม การเลื่อนขั้น การเกษียณอายุ ฯลฯ
2. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 30 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานที่มีความพิการจำนวนมากกว่าร้อยละ 2 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบจะต้องเสียค่าปรับ
3. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 300 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานพ้นวัยเกษียณจำนวนมากกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด
4. ด้วยเหตุผลของความปลอดภัย นายจ้างจะต้องไม่จ้างแรงงานที่ไม่มีคุณสมบัติในการทำงาน ปราศจากใบอนุญาตทำงานหรือทักษะในการทำงานที่อันตราย อาทิ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี
5. สตรีและเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีไม่สามารถปฏิบัติงานอันตรายได้ นอกจากนี้ นายจ้างไม่สามารถจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี โดยไม่มีใบอนุญาตทำงานซึ่งออกโดยกระทรวงแรงงานเกาหลีใต้

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th