คนเกาหลีเอาอะไรไปใส่ “โอ่ง” กันนะ??
ใช้ในการจัดเก็บอาหารไว้รับประทานในฤดูหนาว
ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสต่างๆที่หมัก
ได้จากพืชอย่างถั่ว หรือพริก
เช่น ซอสพริกเกาหลี (โคชูจัง-고추장),
ซอสถั่วเหลือง (กันจัง-간장)
และ เต้าเจี้ยว (ทเวนจัง-된장)
ซอสพริกเกาหลี (โคชูจัง-고추장),
ซอสถั่วเหลือง (กันจัง-간장)
เครื่องปรุงรสที่ได้จากการหมักดองเค็ม
สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม
อย่างกุ้ง, หอยนางรม,
หอย, ปลา,
ไข่ปลาและลำไส้ปลาหมัก
เป็นวัตถุดิบที่นำไปใช้ในเป็นเครื่องเคียงอาหารเกาหลี
หรือนำไปการประกอบอาหารประเภทอื่นๆต่อไป
เช่น – กุ้งหมักเค็ม หรือ กุ้งดอง (แซวูจอซ-새우젓)
– ปลาดอง (ฮวางแซกีจอซ-황새기젓)
– ปลาแอนโชวี่ดอง (มยอลชีจอซ-멸치젓)
– ปลาเหลืองดองเค็ม (โชกีจอซ-조기젓)
– หอยดอง (โชแกจอซ-조개젓)
– หอยนางรมดอง (กุลจอซ-굴젓)
และ หอยนางรมดองเค็มแบบเผ็ด (ออรีกุลจอซ-어리굴젓)
– ไข่ปลามยองแทดอง (มยองรันจอซ -명란젓)
– ปลาหมึกดอง (โอจิงอจอซ -오징어젓)
– ปลาหมึกเล็กดอง (กลทูกีจอซ-꼴뚜기젓)
– ปูดอง (เคจัง-게장) หรือ (เคจอซ게젓) เป็นต้น
นอกจากนี้เมื่อจะเข้าฤดูหนาว
คนเกาหลีจะนำกิมจิมาเก็บและฝังไว้ในดิน
ก่อนที่นำฟางข้าวมาปิดกำบังไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อแช่แข็ง
คำเรียกอื่นๆที่อาจได้ยิน
“ฮางารี (항아리)” หรือคำว่า “องกี (옹기)”
ที่เป็นชื่อเรียกแทนเครื่องปั้นดินเผาโดยทั่วไป
“จังดกแด (장독대)” เป็นชื่อเรียกพื้นที่
หรือลานระเบียงนอกบ้าน
ที่คนเกาหลีใช้วางโอ่ง วางไห
หรือที่เรียกว่า “จังดก (장독)”
หรือลานระเบียงนอกบ้าน
ที่คนเกาหลีใช้วางโอ่ง วางไห
หรือที่เรียกว่า “จังดก (장독)”
โดยมักจะตั้งอยู่ในบริเวณที่สะอาด
ซึ่งอยู่ใกล้กับห้องครัว
สามารถได้รับแสงแดดและการระบายอากาศได้ดี
ซึ่งอยู่ใกล้กับห้องครัว
สามารถได้รับแสงแดดและการระบายอากาศได้ดี
ภาพวาดภาพแรกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด
ที่มีการแสดงให้เห็นถึง “จังดก (장독)”
หรือ “องกี (옹기)”
หรือ “องกี (옹기)”
ซึ่งเป็นฉากหลังของภาพวาดชีวประวัติของ
“ฮงลีซาน
(ซึ่งต่อมาก็คือ พระเจ้าชองโจพระองค์ที่ 22
จากราชวงศ์โชซอน)”
ถูกวาดขึ้นในปี ค.ศ.1781
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี
ซึ่งก็คือภาพวาดด้านล่างนี้
ซึ่งก็คือภาพวาดด้านล่างนี้
ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai
122