คุณสมบัติของการจ้างงานแรงงานต่างชาติ

คุณสมบัติของการจ้างงานแรงงานต่างชาติ

แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการจ้างงานในสาธารณรัฐเกาหลีที่ถือวีซ่าประเภท E -9 และ H-2 ตาม「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว」จะต้องผ่านการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาเกาหลี และผ่านการอบรมการจ้างงานให้แรงงานต่างด้าว รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมายอื่น ๆ

คุณสมบัติและขอบเขตการจ้างแรงงานต่างด้าว


คุณสมบัติและขอบเขตการจ้างแรงงานต่างด้าว
นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวที่มีวีซ่าประเภทการจ้างแรงงานด้านที่มิใช่วิชาชีพ( E-9) หรือการ
เข้าเยี่ยมเยือนโดยมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ(H-2) จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในรัฐบัญญัติ
และกฎหมายอื่น รวมทั้งต้องพยายามจ้างแรงงานในประเทศก่อน

ภายใต้แผนเบื้องต้นด้านแรงานต่างด้าวที่มีขึ้นและประกาศใช้ในทุกปี จะมีการกำหนดขอบเขตการจ้างงานแรงงานต่างด้าวที่มีวีซ่าประเภทการจ้างแรงงานด้านที่มิใช่วิชาชีพ (E-9) หรือการเข้าเยี่ยมเยือนโดยมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (H-2) ในแต่ละปี

การคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว


การคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าวมีสถานะเป็นแรงงาน สิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานและสิทธิทางสังคมขั้นพื้นฐานของแรงงาน ต่างด้าวได้รับการรับประกันอย่างเท่าเทียมกับแรงงานในประเทศภายใต้รัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับด้าน
แรงงานและกฎหมายอื่นๆ รวมทั้งกฎหมายแรงงาน ได้แก่ รัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน รัฐบัญญัติว่าด้วยค่าแรงขั้นต่ำและรัฐบัญญัติว่าด้วยการรับประกันการเรียกร้องค่าจ้าง และภายใต้ รัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันทางสังคมและกฎหมายอื่น เช่น รัฐบัญญัติว่าด้วยการประกัน สุขภาพแห่งชาติ รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวและ
รัฐบัญญัติว่าด้วยการประกันค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม

เมื่อแรงงานต่างด้าวถูกละเมิดสิทธิ จะได้รับสิทธิดังกล่าวคืนมาตามขั้นตอนการเยียวยาสิทธิ

ขั้นตอนการจ้างแรงงานต่างด้าว


ขั้นตอนการจ้างแรงงานต่างด้าว
ขั้นตอนการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถือวีซ่าประเภทการจ้างแรงงานด้านที่มิใช่วิชาชีพ (E-9) เป็นดังนี้: 1. สมัครขอแสวงหาบุคคลากรที่เป็นพลเมืองในประเทศ 2. สมัครขอรับใบอนุญาตจ้างงาน 3. ได้ใบอนุญาตจ้างงาน 4. เข้าทำสัญญาจ้างงาน 5. สมัครขอรับใบรับรองวีซ่า 6. จัดการอบรม
การจ้างแรงงานต่างด้าว 7. เริ่มทำงาน

สาระที่นายจ้างต้องปฏิบัติตาม


สาระที่นายจ้างต้องปฏิบัติตาม
นายจ้างที่ว่าจ้างแรงงานต่างด้าวให้ทำงานจะต้องปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวเหล่านั้นเทียบเท่า
กับเป็นแรงงานในท้องุถิ่นทั้งในส่วนของค่าจ้างและสภาวะการทำงาน อีกทั้งยังจะต้องขึ้นทะเบียนในด้าน ประกันสังคม 4 ประเภท ประกันสิ้นสุดอายุการทำงานและประกันเงินค่าจ้างค้างชำระให้แก่แรงงานเหล่า นั้นด้วย เมื่อความสัมพันธ์ทางการจ้างงานเปลี่ยนไป นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่กำหนดไว้ ในรัฐบัญญัติและรัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน รัฐบัญญัติว่าด้วย การจ้างแรงงานต่างด้าวและรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง ซึ่งรวมถึงการรายงานความ เปลี่ยนแปลงให้หน่วยงานด้านบริหารผู้มีอำนาจทราบด้วย

ประกาศหมายเลขผู้มีสิทธิสอบ วัน เวลา และสถานที่สอบความสามารถภาษาเกาหลี EPS-TOPIK ครั้งที่ 13

สมัครที่จังหวัดไหน สอบที่จังหวัดนั้น
ประกาศหมายเลขผู้มีสิทธิสอบ วัน เวลา และสถานที่สอบความสามารถภาษาเกาหลี EPS-TOPIK ครั้งที่ 13
-->

ข้อจำกัดว่าด้วยการจ้างงาน

ข้อจำกัดว่าด้วยการจ้างงาน
หากนายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องและอนุบัญญัติที่รวมถึงรัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว นายจ้างจะถูกยกเลิกใบอนุญาตการจ้างแรงงานต่างด้าว และนายจ้างจะไม่สามารถว่าจ้างแรงงานต่างด้าวในระยะเวลาที่กำหนดภายหลังจากนั้น

ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว


แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี จะต้องมีวีซ่า (สำหรับการเข้าพักอาศัย)
ที่อนุญาตให้ประกอบอาชีพได้

การจ้างแรงงานต่างด้าวผู้ถือวีซ่าการจ้างงานที่มิใช่วิชาชีพ (E-9) และวีซ่าสำหรับเยี่ยมเยือนเพื่อ วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (H-2) นั้น จะอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว

การจ้างแรงงานต่างด้าวตามที่ระบุไว้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว


การจ้างแรงงานต่างด้าวตามที่ระบุไว้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว
 การจ้างแรงงานต่างด้าวตามที่ระบุไว้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว
เรื่องเกี่ยวกับการถือวีซ่า E-9 หรือ H-2 ในวีซ่า 15 ประเภทของชาวต่างด้าว ที่อนุญาตให้รับจ้างทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีได้อยู่ภายใต้「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว」

「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว」กำหนดระบบการจ้างงานที่ใช้สำหรับผู้ถือวีซ่าประเภท E-9 และแผนการคัดเลือกแรงงานพิเศษสำหรับผู้ถือวีซ่าประเภท H-2
 กฎหมายที่กำหนดเรื่องการเข้าเมืองและการจ้างงานคนงานต่างด้าว
 เรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับการเข้าประเทศการอาศัยและออกนอกประเทศสำหรับแรงงานต่างด้าวถูกบังคับภายใต้「รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง」 ส่วนเรื่องเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าวในสาขาพิเศษ (ที่มิใช่วิชาชีพแรงงานทั่วไปเป็นต้น) ถูกบังคับภายใต้「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว」

การประกันเจ็บป่วยและอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงาน

การประกันเจ็บป่วยและอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงาน

พ.ร.บ. ประกันค่าทดแทนอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม (Industrial Accident Compensation Insurance Act) กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องทำประกันอุบัติเหตุในการทำงานให้ลูกจ้างทุกคน   ภายใน 15  วัน นับจากวันทำสัญญาจ้าง  ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำหรือชั่วคราว  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือบาดเจ็บจากการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงสาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้หรือความผิดของลูกจ้าง  และไม่คำนึงถึงสถานะแม้ว่าจะทำงานกับสถานประกอบการที่ผิดกฎหมายหรือเป็นแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย   โดยลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานจะได้รับการรักษาพยาบาล  และค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ     ค่าทดแทนการขาดรายได้  ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ  และหากประสบอันตรายถึงแก่ความตาย   นอกจากได้รับค่าทำศพแล้วทายาทยังได้รับเงินทดแทนอีกด้วย

ระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว ตอน 2


ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว
 ข้อจำกัดในการจ้างแรงงานตามสถานะของวีซ่า
 การจ้างงานระยะสั้น (C-4), อาจารย์ (E-1), การสอนภาษาต่างประเทศ (E-2), วิจัย (E-3), การโอนเทคโนโลยี (E-4), การจ้างงานด้านวิชาชีพ (E-5), ศิลปินหรือความบันเทิง (E-6), กิจกรรมที่กำหนดโดยเฉพาะ (E-7), การจ้างงานที่มิใช่ด้านวิชาชีพ (E-9), ลูกเรือ (E-10), การทำงานเกี่ยวกับวันหยุด (H-1) หรือการเข้าเยี่ยมเยือนโดยมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (H-2)

ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว ตอน 1



 การจ้างแรงงานต่างด้าวและวีซ่า
แรงงานต่างด้าวที่ประสงค์จะได้รับการจ้างงานในสาธารณรัฐเกาหลีจะต้องมีวีซ่าตาม [ รัฐบัญญัติ ว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง] เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้ 

ทั้งนี้การจ้างแรงงานต่างด้าวจะถูกจำกัดตามรายการของประเภทอุตสาหกรรมที่ สาธารณรัฐเกาหลีได้กำหนดไว้ โดยขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า
 คำจำกัดความและสถานะทางกฎหมายของแรงงานต่างด้าว
 "คนงานต่างด้าว" คือใคร?
ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว- คำว่า“แรงงานต่างด้าว” หมายถึงบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองของสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งได้ให้บริการด้านแรงงานแก่ธุรกิจหรือธุรกิจอันมีที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลี (วรรคหลักแห่งมาตรา 2 ของ[รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว])
 สถานะทางกฎหมายของคนงานต่างด้าว
- รัฐบัญญัติว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวถือว่าแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานในลักษณะเดียวกันกับแรงงานในท้องถิ่นดังนั้นรัฐบัญญัติว่าด้วยการแรงงานและรัฐบัญญัติอื่นๆรวมทั้งรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงานและรัฐบัญญัติว่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลบังคับใช้กับแรงงานต่างด้าวในรูปแบบเดียวกันกับแรงงานในท้องถิ่นในระหว่างที่มีการจ้างงานด้วย
- อย่างไรก็ตามในกรณีของการจ้างแม่บ้านรัฐบัญญัติและรัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ดังนั้นจำนวนชั่วโมงทำงานการเลิกจ้างวันหยุดการลาและเงื่อนไขการทำงานอื่นใดทั้งหมดจึงสามารถถูกกำหนดอย่างไรก็ได้และสามารถกำหนดเป็นสัญญากับนายจ้างโดยไม่ถือว่าละเมิดข้อกำหนดในประมวลกฎหมายแพ่ง (มาตรา 11.1 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงทำงานการพักผ่อนและวันหยุดในรัฐบัญญัติว่าด้วยแรงงานมาตรฐานจะไม่มีผลบังคับใช้กับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในด้านเกษตรกรรมป่าไม้ปศุสัตว์และประมง (มาตรา 63.1 และ 63.2 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน)

นางวรรณพร ชูอำนาจ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ให้การต้อนรับแรงงานในพิธีต้อนรับแรงงานกลับสู่เกาหลีใต้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555


พิธีต้อนรับแรงงานกลับสู่เกาหลีใต้อีกครั้งหนึ่ง
 ▷ นางวรรณพร ชูอำนาจ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ให้การต้อนรับแรงงานในพิธีต้อนรับแรงงานกลับสู่เกาหลีใต้อีกครั้งหนึ่ง (WELCOME CEREMONY FOR RE-ENTRY COMMITTED WORKERS) 6 ประเทศ 128 คน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ณ สนามบินอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี


การประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพเกาหลี
                 กฎหมายประกันสุขภาพของสาธารณรัฐเกาหลี  กำหนดให้นายจ้างต้องสมัครประกันสุขภาพให้แรงงานต่างชาติ (วีซ่า E 9)   ภายใน 14 วัน นับจากวันทำสัญญาจ้าง โดยนายจ้างและลูกจ้างจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพฝ่ายละ 50 %  ผู้เอาประกันจะได้รับบัตรประกันสุขภาพภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันสุขภาพ เพื่อใช้แสดงตนเมื่อขอรับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน โดยแรงงานต่างชาติจะได้รับสิทธิ์การรักษาพยาบาลเทียบเท่าคนในชาติ  ทั้งนี้   ผู้เอาประกันจะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยทั่วไปที่ไม่ใช่สาเหตุมาจากการทำงาน

การประกันภัยทั่วไป

 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างชาติ บังคับให้แรงงานต่างชาติ(วีซ่า E 9) ที่เดินทางเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย   ต้องทำประกันภาคบังคับ ดังนี้
ประกันต่าง ๆ ในเกาหลี

              1. การประกันภัยทั่วไป   ต้องทำภายใน 15 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้าสาธารณรัฐเกาหลี  โดยผู้เอาประกันจะได้รับการคุ้มครอง (ระยะเวลา 3 ปี)  ทั้งนี้  การประกันภัยทั่วไปนี้จะไม่คุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล  โดยจะชดเชยเฉพาะกรณีได้รับอุบัติเหตุ (เสียชีวิต / ไร้ความสามารถถาวร) จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 30 ล้านวอน  และกรณีเจ็บป่วย (เสียชีวิต /ไร้ความสามารถถาวรขั้นรุนแรง)  จะได้รับเงินชดเชยไม่เกิน 15 ล้านวอน  โดยบริษัทประกันภัย จะประเมินความสูญเสียและจ่ายเงินชดเชย

องค์กรช่วยเหลือแรงงานต่างชาติ

ระบบการอนุญาตจ้างงานแรงงานต่างชาติ
ระบบการอนุญาตจ้างงานแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System :EPS) มีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งคือ การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างชาติ และป้องกันนายหน้าจัดส่งแรงงานเรียกเงินค่าหัวจากแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม  ทำให้แรงงานต่างชาติที่เดินทางมาทำงานในเกาหลีใต้ ไม่มีบริษัทจัดหางานหรือหัวหน้าคนงานดูแลเมื่อประสบปัญหาต่างๆ  องค์กรภาครัฐและเอกชนในเกาหลีใต้ จึงได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานต่างชาติขึ้น  เพื่อให้คำแนะนำ ช่วยเหลือแรงงานต่างชาติที่ประสบปัญหาชีวิตและการทำงานในเกาหลีใต้  รวมทั้งให้ความรู้ด้านภาษา วัฒนธรรมและทักษะฝีมือแก่แรงงานต่างชาติที่สนใจ  ดังนี้

รายชื่อองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแรงงงานต่างชาติ 
 (외국인근로자지원기관)

ปัญหาของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี


ปัญหาของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลีปัญหาแรงงานไทยในเกาหลีใต้ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการสื่อสารเนื่องจากแรงงานไทยส่วนใหญ่ ไม่สามารถสื่อสารภาษาเกาหลีได้ดีพอ  ทำให้มีโอกาส ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างได้ง่าย   นอกจากนั้น แรงงานไทยบางส่วนมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสภาพการทำงาน ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แรงงาน EPS หลบหนีนายจ้าง คือ  ปัญหาการทำงาน  โดยไม่สามารถอดทนทำงานประเภท 3D และไม่สามารถย้ายงานได้ เนื่องจากการอนุญาตให้ย้ายงานแก่แรงงานไร้ฝีมือภายใต้ระบบ EPS เป็นสิทธิ์ของนายจ้างฝ่ายเดียว (หากนายจ้างไม่ได้กระทำผิดกฎหมายแรงงาน) แรงงานส่วนใหญ่จึงหาทางออกด้วยการหลบหนีนายจ้างไปเป็นแรงงานผิดกฎหมาย   นอกจากนั้น  ที่ผ่านมากฎหมายแรงงานเกาหลีใต้กำหนดระยะเวลาการทำสัญญาจ้างไม่เกิน 1 ปี  และสามารถต่อสัญญาจ้างได้คราวละ 1 ปี ทั้งนี้  การต่อสัญญาจ้างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างมีสิทธิ์เลือกงานและเลือกนายจ้างใหม่ได้ภายหลังครบกำหนดสัญญาจ้าง 1 ปี   แต่นับจากวันที่ 10 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลเกาหลีใต้ได้บังคับใช้กฎหมายใหม่ อนุญาตให้นายจ้างและแรงงานต่างชาติ สามารถทำสัญญาจ้างงานเกิน 1 ปี ได้ แต่ไม่เกิน 3 ปี  ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย

โอกาสของแรงงานไทย

 ตลาดแรงงานต่างชาติในเกาหลีใต้ นับว่าเป็นตลาดแรงงานที่มีศักยภาพและเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากแรงงานต่างชาติได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเทียบเท่าคนในชาติ  รวมทั้งอัตราค่าจ้างแรงงานค่อนข้างสูง โดยค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2555  ชั่วโมงละ 4,580 วอน แรงงานไทยที่ทำสัญญาจ้างสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง จะได้ค่าจ้างเดือนละประมาณ 957,220 วอน สำหรับผู้ทำสัญญาจ้างสัปดาห์ละ 44 ชั่วโมง จะได้ค่าจ้างเดือนละประมาณ 1,035,080 วอน  เงินรายได้นี้ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและเงินรางวัลสิ้นสุดสัญญาจ้างเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยปีละ 1 เดือน

คิดให้ดีก่อนไปแต่่งงานกับชาวเกาหลีใต้


คิดให้ดีก่อนไปแต่่งงานกับชาวเกาหลีใต้
ความนิยมหรือเทรนด์เกาหลีที่กำลังมาแรงไม่ว่าจะเรื่องอาหารการกิน แฟชั่น ดนตรี ภาพยนต์ เรื่อยไปจนถึงสินค้าจากเกาหลี กำลังขายดิบขายดีโดยเฉพาะในหมู่คนไทยที่รับอะไรง่ายๆ อยู่แล้ว หารู้ไม่ว่า การสร้างค่านิยมเกาหลีเป็นนโยบายของรัฐบาลเกาหลีใต้ในการที่จะทำให้ชาวโลกนิยมชมชอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเกาหลีโดยมองข้ามเรื่องของคุณภาพหรือข้อเท็จจริงบางอย่างไปด้วย  เช่นเดียวกับเรื่องการแต่งงานกับชายชาวเกาหลีใต้ของหญิงไทย