สร้างสุขให้ชีวิต...ด้วยเสียงหัวเราะ


ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีต่างๆ ดูเหมือนจะทำให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสบายขึ้น แต่สิ่งที่สวนทางกับปัจจัยเหล่านี้กลับกลายเป็น ความทุกข์ ความเครียด และโรคภัยไข้เจ็บที่ตามมา ซึ่งมีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันได้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า มนุษย์เราจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากความเครียด และภาวะซึมเศร้าสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจ แต่มียาชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาโรคเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ดีนั่นคือ "เสียงหัวเราะ" ด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จึงได้จัดเสวนาขึ้นในหัวข้อ "มาร่วมกันหัวเราะ เพาะสุขภาพชีวิต" ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งมี ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม ประธานชมรมหัวเราะแห่งประเทศไทย ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสียงหัวเราะ

ดร.วัลลภบอกว่า การหัวเราะของมนุษย์มี 2 ลักษณะ คือ 1.หัวเราะธรรมชาติ คือหัวเราะเมื่อได้ยินหรือพบเห็นเรื่องที่ตลกขบขัน ซึ่งจะต้องมีสิ่งมากระตุ้นให้รู้สึกขบขันและหัวเราะออกมา 2.การหัวเราะบำบัด เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยคนที่มีปัญหาในเรื่องของการหัวเราะ หรือมีปัญหาและโรคภัยอันเกิดมาจากภาวะความเครียดและซึมเศร้า

การหัวเราะบำบัดนั้นเป็นการออกกำลังกายภายใน เช่น ถ้าหากเราเต้นแอโรบิค 30 นาที ก็จะเท่ากับหัวเราะอย่างต่อเนื่องเพียง 5 นาที จากสถิติพบว่าคนอ้วนที่เคยเข้าร่วมหัวเราะบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 สัปดาห์ น้ำหนักลดลง 3-4 กิโลกรัม โดยไม่ได้อดอาหารหรือลดอาหารเลย

ดร.วัลลภบอกด้วยว่า การหัวเราะบำบัดสามารถฝึกได้เองด้วยวิธีง่ายๆ คือ อ้าปากกว้างๆ แล้วเปล่งเสียง "โอ" หรือ "อา" ออกมาหลายๆ ครั้งอย่างต่อเนื่อง การฝึกหัวเราะบำบัดไม่ใช่แค่หัวเราะเฉพาะปากเพื่อให้เกิดเสียงเพียงเท่านั้น แต่ต้องทำให้ทั้งร่างกายหัวเราะตามไปด้วย นั่นก็คือ สมอง ขา แขน ไหล่ อก ท้อง และเมื่อเริ่มฝึกอย่างต่อเนื่องจะพบว่าทุกส่วนของร่างกายจะโล่ง โปร่ง เบา และสบายขึ้น อาการไม่สบายต่างๆ ก็จะหายไปด้วยและความสดชื่นก็จะเข้ามาแทนที่ ดังนั้นคนที่เข้าสู่กระบวนการฝึกหัวเราะบำบัดจะมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

เพียงแค่เสียงหัวเราะก็สามารถสร้างสิ่งดีๆ ให้กับชีวิตได้มากมายทั้งจิตใจและร่างกาย รวมถึงได้มิตรภาพจากคนรอบข้างอีกด้วย วิธีง่ายๆ แบบนี้ใครสนใจทำได้เลย

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

การถูกจับของแรงงานไทยในเกาหลี


การถูกจับของแรงงานไทยในเกาหลี
ช่วงระยะนี้มีแรงงานไทยหลายๆ คนที่เข้ามาทำงานในประเทศเกาหลีที่ไม่มีวีซ่าและอยู่เกินกำหนด ได้ถูกทางการเกาหลีจับตัวและส่งเข้าเรือนจำตามท้องที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยอขู ควาซอง  อินชอน แทกู หรืออื่น ๆ นั้น ถ้ามีหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ  มีเงินค่าตั๋วเครื่องบิน มีนายจ้างรับผิดชอบ  ก็ได้เดินทางกลับเร็ว  แต่ถ้าไม่มีหนังสือเดินทาง ไม่มีเงิน ไม่มีนายจ้างรับผิดชอบ ต้องติดต่อครอบครัวของตนเองที่เมืองไทย ให้ติดต่อกระทรวงการต่างประเทศ กองคุ้มครองคนไทยในต่างแดน ที่เบอร์โทร  02 575-1048   เพื่อให้ทำการช่วยเหลือในเรื่องส่งตัวกลับเมืองไทย  โดยทีทางการเกาหลีทำเรื่องมาให้ทางสถานทูตไทย และทางรัฐบาลไทย ได้รับเรื่องการร้องขอความช่วยเหลือ เพื่อส่งตัวกลับเมืองไทย  ถึงแม้ว่าแรงงานที่ถูกจับจะโทรเข้ามาเพื่อให้สถานกงสุลไทยทำการช่วยเหลือเพื่อส่งตัวกลับ ทางกงสุลไทยต้องได้รับเอกสารการส่งตัวจากทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก่อนที่จะออกเอกสารใด ๆ ให้   จึงต้องรอ ไม่ได้ปฎิเสธการช่วยเหลือแรงงานไทย แต่ต้องรอขั้นตอนการทำงานของสำนักงานของเกาหลีก่อน  คาดว่าระยะเวลาที่ทางการเกาหลีตำเนินการไม่เกิน 1- 2 อาทิตย์ ส่วนของไทยหลังจากได้รับเอกสาร อยู่ในระยะเวลา 2 วันไม่เกินนี้  เพราะทางรัฐบาลต้องทำการช่วยเหลือส่งตัวกลับประเทศ   แต่ต้องปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายของประเทศด้วย

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

การเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศเกาหลีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

แรงงานไทยทำงานถูกต้องตามกฎหมาย

มีข่าวของคนไทยหลายคนที่เดินทางเข้าประเทศเกาหลีอย่างไม่ถูกต้องด้วยความหลงเชื่อจากคำบอกกล่าวโดยที่ข้อมูลที่ได้จากนายหน้า จากเพื่อนสนิท จากคนรู้จัก  และข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ผิดจากความเป็นจริง แต่ผู้ที่ต้องการเดินทางเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศเกาหลี ไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดที่ขัดเจนว่า การทำงานในประเทศเกาหลีสำหรับแรงงานต่างด้าว ชั่วโมงของการทำงาน มากกว่า 13 ชั่วโมง จะมีรายได้มากกว่าหรือน้อยกว่า  3 หมื่นบาท  สำหรับคนงานที่ทำงานผิดกฎหมายหรือถูกต้องตามกฎหมาย  แต่ถ้าเป็นแรงงานที่ถูกต้องจะมีรายได้ที่เกิดขึ้นตามกฎหมายควบคุม และมีสวัสดิการต่าง ๆ ครอบคลุมอยู่ แต่ถ้าเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าจะมีชั่วทำงานมากว่า 13 ชั่วโมง สำหรับรายได้ ที่ได้จะมากหรือน้อย หรือได้รับเงินเต็มตามจำนวนค่าแรงที่ทำ ขึ้นอยู่กับนายจ้างจะมีความรับผิดชอบและมีความยุติธรรมมากน้อยแค่ไหน  ดังนั้นแรงงานไทยที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศเกาหลีที่ถูกต้อง จึงได้รับการดูแลมากกว่าแรงงานที่ผิดกฎหมาย ในรายที่ผิดกฎหมายต้องขวนขวายหาหนทางช่วยเหลือตนเอง ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าจ้าง ค่าชดเชย  หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คนถูกต้องจะได้รับการคุ้มครอง   ส่วนคนผิดกฎหมายจะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศเกาหลีเพื่อมาทำงานตามคำชักชวนของนายหน้า เพื่อน หรือคนแนะนำ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลประโยชน์ของคุณเอง และคุณจะได้ไม่ต้องเสียรู้ให้กับผู้หวังดีประสงค์ร้ายเหมือนกับรายอื่น ๆ ที่เข้าไปร้องเรียนสถานกงสุลไทยตามที่เคยเป็นข่าว ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะทำงานหรือเดินทางเข้าประเทศเกาหลีไม่ว่าจะป็นรูปแบบนักท่องเที่ยว ทำงาน หรือเยี่ยมญาติ  คุณต้องสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนออกเดินทาง
คุณจะได้รายละเอียดที่ถูกต้องและคุณจะไม่ถูกเขาหลอกเอาเงินไปฟรี  เพราะจิรง ๆ แล้ว การเดินทางเข้าประเทศเกาหลี ถ้าคุณพูดภาษาอังกฤษได้ และมีข้อมูลในเรื่องการเดินทางเข้ามาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ถ้าทางเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองพิจารณาและเห็นว่าให้เข้าประเทศของเขาได้ คุณก็เข้ามาได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยนายหน้าหรือนายประกัน  เพราะนายหน้าหรือนายประกันไม่ได้ทำอะไรให้คุณ นอกจากรับเงินจากคุณอย่างเดียว คุณจะเข้าได้หรือไม่ได้ เขาไม่ได้สนใจคุณ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

การติดต่อหน่วยงานไทยกับคนเกาหลีและคนไทย


คนไทยที่อาศัยอยู่ในเกาหลีเวลาที่ต้องการติดต่อกับสถานทูตไทย  ส่วนมากคนเกาหลีจะดำเนินการเองทุกครั้ง และเวลาจะพูดหรือสอบถามทางโทรศัพท์ คนเกาหลีจะเป็นคนดิดต่อ ซึ่งการสื่อสารในเรื่องชื่อสกุล ของคนไทย คนเกาหลีเองพูดเรื่องเนื้อหาในรายละเอียดไม่ชัดเจน โดยส่วนมากคนเกาหลีจะดำเนินการเรื่องของคนไทยเอง โดยไม่ให้คนไทยติดต่อไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแรงงาน การต่ออายุหนังสือเดินทาง  การทำใบขับขี่ของคนไทย  การแจ้งเกิดบุตร การสมรส การขอหนังสือรับรองความเป็นโสด  ฯลฯ ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเอกสารที่คนไทยต้องรู้ เพราะเป็นเรื่องของคนไทย แต่คนเกาหลีไม่ชอบให้คนไทยติดต่อเอง  ชอบคิดว่า คนไทยไม่รู้เรื่อง  คิดว่าคนไทยพูดไม่เป็น คิดว่าคนไทยโง่  คิดว่าคนไทยทำอะไรไม่เป็น  อันนี้เป็นเรื่องที่สร้างปัญหาให้กับเจ้าหน้าที่    เขาฝากบอกว่า เรื่องของคนไทยไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม อยากขอร้องให้นายจ้าง ขอร้องให้สามี ขอร้องให้คนเกาหลีที่พูดไทยได้บ้าง ไม่ต้องวุ่นวาย ขอให้เป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องการติดต่อ ถ้าไม่เข้าใจ เจ้าหน้าที่เขาจะทำการสอบถามคนไทยด้วยกันเอง เพราะเจ้าหน้าที่เขาเป็นคนไทย พูดไทยได้ พูดเกาหลีรู้เรื่อง พูดภาษาไทยได้ดี   ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่ฝากบอกคนเกาหลีว่าถ้าเป็นเรื่องของคนไทย ขอความกรุณาให้คนไทยได้พูดคุยเองเพราะเขาจะเข้าใจได้ว่า เขาต้องเตรียมเอกสารอะไร มาบ้างเพื่อติดต่อกับหน่วยงาน เพียงแต่ถ่ายสำเนาเอกสารที่คนไทยบอกให้เขาหรือในกรณีที่เขาต้องการให้พาไปสถานที่ที่ต้องไป ตรงนั้นคนเกาหลีค่อยเข้ามาช่วยเหลือจะเป็นการดีสำหรับคนไทย  และฝากบอกพี่น้องคนไทยด้วยว่า การที่จะทำเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานทูตไทย ให้ติดต่อด้วยตนเอง จะมีเจ้าหน้าที่พยายามฟังคำอธิบายของคุณ  และอธิบายให้คุณได้เข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เพียงแต่คุณต้องทำความเข้าใจในภาษาไทยให้มากที่สุด  เพฟราะบางครั้งเองคนไทยสื่อภาษาไทยฟังไม่เข้าใจและไม่สอบถามเพื่อฟังให้เข้าใจ  เพราะการฟังไม่เข้าใจจะทำให้การสื่อสารผิดความมุ่งหมายไป ทำให้เสียเวลาในดำเนินการ เพราะคุณฟังภาษาไทยไม่เข้าใจ    และอีกอย่างภาษาท้องถิ่น เป็นภาษาเฉพาะภาค เท่านั้น คนไทยอยู่ในประเทศเกาหลีมีหลายพื้นที่ไม่ว่าเหนือ กลาง อีสาน ใต้ ทุกคนมีภาษาเฉพาะถิ่น   ใคร่ขอความกรุณาให้ใช้ภาษากลาง และค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับภาษากลาง แต่ถ้าไม่เข้าใจให้สอบถามได้ จะได้ชัดเจน

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

การขอหย่ากับสามีเกาหลีเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก

แรงงานไทยที่เกาหลี

หญิงไทย ที่ทำการจดทะเบียนสมรสกับชายเกาหลีตามกฎหมายเกาหลี เมื่อไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันกับสามีเกาหลี ต้องการที่จะหย่าจากกันด้วยสันติวิธีนั้นยากมาก ถึงแม้ว่าการจดทะเบียนนั้นจะถูกต้องตามกฎหมายและอยู่กินกันมานาน แต่ต้องการหย่า ถ้าสามีเกาหลีไม่ยอมหย่าให้ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก เพราะฝ่ายภรรยาไทยต้องทำเรื่องฟ้องร้องต่อศาลครอบครัว และต้องเตรียมเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายในการฟ้องหย่าขั้นต่ำ 2 ล้านวอน เพื่อเป็นค่าดำเนินการ   หรือต้องเข้าหาศูนย์ช่วยเหลือหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นสำนักงานครอบครัว  แต่ถึงแม้จะมีรายละเอียดในการดำเนินการเพื่อขอหย่า ก็จะยุ่งยาก เพราะต้องมีรายละเอียด มีบาดแผล มีเอกสารแจ้งความ มีเทปบันทึกเสียงว่าสามีทำร้าย หรือด่าว่าอย่างรุนแรง หรือมีพยานรู้เห็นที่สามารถเป็นพยานได้ รวมถึงต้องมีหลักฐานว่าหญิงนั้นแต่งงานเมื่อไร เดินทางเข้ามาประเทศเกาหลีอย่างไร และในช่วงที่อยู่กินมีปัญหาอะไรบ้าง ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องนำไปแปลเป็นภาษาเกาหลี พร้อมมีตรประทับรับรอง ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก และเวลาที่ต้องใช้ในการดำเนินการไม่ใช่ภายใน 1 อาทิตย์ บางรายต้องใช้เวลามากกว่า 3 เดือน นี่เป็นรายละเอียดพื้นฐานของการขอหย่ากับสามีเกาหลี และถ้าจดทะเบียนทางเมืองไทยหรือทำบันทึกฐานะของครอบครัวเพื่อแสดงในทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย ในกรณีที่สามีไม่ยอมหย่าให้ สถานะภาพของคุณคือหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่สามารถที่จะไปจดทะเบียนสมรสใหม่ได้ ต้องฟ้องร้องต่อศาล ขอให้ศาลออกหนังสือเรื่องการเป็นโมฆะกับสามีเกาหลี หรือต้องนำทะเบียนหย่าทางเกาหลีไปแปลและรับรองโดยผ่านหน่วยงานราชการไทย เพื่อให้คำรับรองการแปลว่าได้หย่าขาดจากการเป็นภรรยาของขายเกาหลีแล้ว ต้องใช้ระยะเวลาเช่นกัน  ดังนั้นการที่จะทำการจดทะเบียนสมรสกับชายต่างชาติ ขอให้พิจารณาและคิดให้รอบคอย ว่าคนที่เราจะฝากชีวิตใว้นั้น เป็นคนที่มีจิตใจเป็นอย่างไร เราอยู่ด้วยนั้นจะมีความสุขมากน้อยแค่ไหน หรือต้องตกเป็นเบี้ยล่างของสามีต่างชาติอยู่ตลอดเวลา   สุภาษิตไทยที่ว่า คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า ยังใช้ได้อยู่

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

แรงงานกับอุบัติเหตุในโรงงาน

แรงงานหลาย ๆ คนที่เดินทางไปทำงานยังประเทศอื่น  ๆ ส่วนมากจะเป็นแรงงานไร้ฝีมือ มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา หรือไม่ได้ศึกษา  ใช้แรงกายเข้าแลกเปลี่ยน  เมื่อเข้าไปทำงานในโรงงานนั้น ๆ  ภาษาที่แตกต่าง เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัย   และไม่เข้าใจวิธีการใช้ เนื่องจากอ่านไม่ออก ฟังคำบอกอธิบายการใช้งานไม่เข้าใจ   หรือเหน็ดเหนื่อยจากการอุบัติแรงงานทำงานที่ติดต่อกันนานกว่า 8 - 9 ฃั่วโมง หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ เจ็บป่วย แต่ยังฝืนทำงาน นายจ้างบังคับให้ทำงานในขณะที่ร่างกายไม่สบาย   หรืออุปกรณ์เครื่องจักรไม่สมบรูณ์  ไม่แข็งแรง เครื่องจักรเก่าหมดสภาพการใช้งาน  ขาดความระมัดระวังในการทำงาน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ในระหว่างเวลาทำงาน การเกิดอุบัติเหตุในขณะทำงานอาจทำให้เกิดความพิการหรือบางอาจเสียชีวิตได้  ตามที่เป็นข่าวปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์   ที่ได้ยินและเห็นบ่อย ๆ    แรงงานก่อนที่จะทำงานหรือเลิกงานควรตรวจดูอุปกรณ์ความสมบรูณ์ของเครื่องจักร ความแข็งแร็งของผู้ทำงาน รูปแบบงานที่ทำเหมาะสมกับสภาพร่างกายหรือไม่  เครื่องแต่งกายรัดกุมเหมาะกับการทำงาน  มีอาการผิดปกติของร่างกายในวันทำงานหรือไม่ เช่น เหนื่อย เวียนศรีษะ อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือเครื่องจักรมีปัญหาบ่อย ๆ ในช่วงที่เครื่องจักรกำลังทำงาน  อุปกรณ์หรืออะไหล่บางตัวหลุด หรือไม่มี  ซึ่งผู้ทำงานต้องตรวจสภาพและต้องแจ้งให้หัวหน้างานหรือนายจ้างรับรู้ก่อนที่จะลงมือทำงาน เพื่อป้องกันตนเอง และป้องกันมิให้เกิดความเสียหายให้มากขึ้น  และสิ่งที่สำคัญคือตัวของแรงงานเองก็จะปลอดภัยและเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนได้อย่างสมบรูณ์ โดยไม่มีความพิการหรือกลับแต่กล่องบรรจุอัฐิ
อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในโรงงานอุตสาหกรรมได้แก่ นิ้วขาด แขนขาด ไอน้ำร้อนจากอุปกรณ์ เฃ่นหม้อต้ม ต่าง ๆ  สารเคมีที่ใช้ในการทำงานกระเด็นใส่ตัว  เศษเหล็กหรืออะไหล่ตกใส่    เครื่องจักรทับมือ หรือเครื่องจักรดึงตัวแรงงานเข้าไปในเครื่อง  สูดดมสารเคมี มากเกินปกติ เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด หายใจไม่ออก ตกบ่อน้ำทิ้ง หรือลงไปทำความสะอาดในบ่อน้ำทิ้ง อากาศไม่พอในการหายใจ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุ ต่าง ๆ กับแรงงาน ส่วนมากเป็นแรงงานไร้ฝืมือที่พบได้บ่อย


ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

ชั่วโมงการทำงานของแรงงานไทยในโรงงาน


ทำงานเกาหลี
การทำงานของแรงานไทยในโรงงาน วันหนึ่ง ๆ ช่วงเวลาของการทำงานตั้งแต่ 8.00 - 19.30 น หรือในบางครั้งต้องทำงานนอกเวลา (โอที) ทำงาน ถึง 22 น. ตามที่นายจ้างสั่ง ถ้าหากไม่ทำงานก็มีปัญหากับนายจ้าง  ถึงแม้ว่าแรงงานจะคุยกับนายจ้างว่าทำงานไม่ไหวจากสาเหตุ เช่น ไม่สบาย พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือว่าเหนื่อยจากการทำงานในเวลางานตามกำหนด แต่นายจ้างก็ปฎิเสธที่จะรับรู้เรื่องของแรงงานเหล่านั้น  ถ้าหากไม่ทำตามก็จะโดนนายจ้าง ดุค่า หรือหักค่าแรง  ในบางครั้งการทำงานในแต่ละสัปดาห์ ต้องทำสลับกะทำอาทิตย์ละสัปดาห์เปลี่ยนไปแต่ละหน  ซึ่งทำให้มีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน  และในโรงงานที่แรงงานทำงานอยู่นั้นนอกจากเสียงดังจากเครื่องจักรที่ดังอยู่ตลอดเวลาแล้ว บางโรงงานยังเป็นโรงงานที่ใช้กำลังในการยกของหนักมากกว่าวันละ 25 กก. ซึ่งในกฎหมายกำหนดไว้ว่าการยกของหนัก ๆ ในแต่ละวันทำให้มีผลต่อสุขภาพของแรงงาน เกิดการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิต ถุงเท้า ผลิตกล่องบรรจุ DVD  หรือโรงงานทำกิมจิ โรงงานผลิตกีต้าร์ โรงงานอะไหล่รถยนต์ หรือโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ซึ่งนอกจากระยะเวลาของการทำงานในแต่ละชั่วโมงแล้ว ยังมีเสียงดัง จากเครื่องจักร ฝุ่นละออง กลิ่นของสารเคมี ไอร้อนจากเครื่องจักร หรือโรงงานอยู่ในห้องที่อับทึบ ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ  บรรยากาศภายในโรงงานอบอ้าว และมีกลิ่นเหม็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นปัญหาในโรงงานที่ทำให้แรงงานมีปัญหากับการทำงาน  ในการทำงานของแรงงานที่อยู่ในโรงงานนั้น  ส่วนมากจะพูดว่า ทำงานที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเกาหลี นั้นหนักมาก ไม่เป็นเวลา และนายจ้างชอบดุด่า ไม่มีน้ำใจ (คนดีก็มี แล้วแต่โชคของคน)เพื่อนคนงานเกาหลีชอบเอาเปรียบ  ข่มขู่ มองแรงงานด่างด้าวเป็นชนชั้นล่าง ชอบใช้งานเกินเวลาทุกวัน วันละ 30 นาทีบ้าง ไม่เคยให้แรงงานทำงานตรงเวลา แต่ถ้าแรงงานเข้าสายจะโดนด่าและถูกหักค่าแรง แม้แต่วันที่เป็นวันหยุดสำคัญของเกาหลี นายจ้างก็จะให้ทำงานและจะให้หยุดแค่ 2 -3 วัน หรือบางคนเจอโรงงานดี ได้หยุดตามเวลาของวันสำคัญนั้น แต่น้อยรายที่จะได้เจอ  และในเรื่องของเงินเดือน ตามสัญญาว่าจ้างจะให้เป็นเงินเดือน แต่เมื่อมาทำกับได้เป็นรายชั่วโมง หรือรายวัน ส่วนค่าล่วงเวลานั้นจะถูกโกงชั่วโมงทำงานประจำ  และยิ่งเป็นคนงานที่ทำก่อสร้างจะยิ่งเจอปัญหาหนักไม่ว่าจะเป็นชั่วโมงทำงานหรือทำงานนอกเวลาและค่าแรง คนงานก่อสร้างตามสถานที่ต่าง ๆ จะต้องลงทำงานตั้งแต่ 7.30 น. หรือไม่เกิน 8.00 น. และถ้าเป็นช่วงหน้าร้อน จะทำถึง 21.00 น. ก็มี ซึ่งแรงงานหลายคนบ่นให้ฟัง และคนงานเหล่านี้ ได้แต่ก้มหน้าบ่นกับเพื่อนร่วมงานด้วยกัน เนื่องจากพูดภาษาไม่ได้ ไม่มีข้อมูลที่จะติดต่อกับหน่วยงานที่จะรับฟังความคิดเห็น มีบางแห่งแรงงานได้พูดคุยกับล่าม แต่ก็ไม่ได้รับผลจากการพูดคุย หรือล่ามเองไม่สนใจในปัญหาของแรงงานเพราะเห็นว่าเป็นแรงงานที่เดินทางเข้ามาเพื่อทำงานแลกเงิน จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องมากกว่าที่โรงงานหรือนายจ้างเป็นผู้ให้  ระยะเวลาของการทำงานในโรงงานในประเทศเกาหลีมักจะเร่งรีบและทำงานกันอย่างหนัก ยิ่งคนที่เป็นแรงงานด้วยแล้ว จะต้องรีบทุกอย่าง ไม่ว่าจะกินข้าวต้องให้เสร็จภายใน 20 -30 นาทีสำหรับโรงงานทอผ้า ทำถุงเท้า ปัญหาจะเจอมาก เนื่องจากต้องทำแข่งกับเครื่องจักรที่ผลิตงานออกมา มือของแรงงานจะทำงานเร็วมาก แต่ทว่าแรงงานที่เป็นคนสัญชาติเดียวกัน ระยะเวลาของการทำงานจะตรงตามเวลา ถึงเวลาเลิกงานจะหยุด นายจ้างหรือหัวหน้างานจะไม่ว่ากล่าว (ไม่เสมอกันทุกโรงงาน)  คนเกาหลีจะทำงานกันอย่างเร่งรีบ ส่วนแรงงานไทยที่ไม่เคยเจอการทำงานอย่างหนักเวลาขนาดนี้ หลายเสียงบ่นมาฝา

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

การตรวจจับแรงงานที่ไม่มีวีซ่าและผู้เข้ามาทำผิดกฎหมายเกาหลี

แรงงานไทยทำผิดกฎหมายเกาหลี

หน่วยงานราชการของเกาหลีไต้ ได้กล่าวถึงเรื่องของแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาทำงานผิดกฎหมายในประเทศเกาหลี ไม่ว่าจะทำงานตามโรงงาน หรือทำธุรกิจส่วนตัวที่ผิดกฎหมายเกาหลี เช่น รับส่งเงินนอกระบบ เปิดบ่อนการพนันทุกฃนิด จำหน่ายหรือเสพยาเสพติดทุกชนิด  การจ้างคนเกาหลีจดทะเบียนสมรสเพื่อให้ได้มาซึ่งวีซ่าอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลี  ทางการเกาหลีพยายามหาทางตรวจสอบและทำการจับกุมบุคคลเหล่านี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาหรือสร้างภาระทางสังคมให้กับทางการ  ขณะนี้ได้ออกตรวจจับทุกวัน  และ ค้นหาตามแหล่งต่าง ๆ ที่มีแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่ ตามบ้านพัก หอพักในโรงงาน  สถานีรถไฟ แหล่งชุมชน ตลาดสด ร้านค้าที่เปิดโดยผู้ที่มีวีซ่า หรือในโรงงานอุตสาหกรรมและกสิกรรม โดยเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปตรวจ แรงงานต่างด้าวจะไม่ทราบเลยว่าคนเหล่านั้นเป็นชาวบ้านหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ทุกวันจะมีเจ้าหน้าที่ออกทุกพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่เหล่านั้นสามารถที่จะทำการตรวจจับข้ามเขตได้ โดยมีหนังสือนำจากหน่วยงานต้นสังกัด  ซึ่งขณะนี้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานตามโรงงานโดยไม่มีวีซ่าจะถูกบีบจากงาน  ไม่ให้โรงงานจ้างคนผิดกฎหมายเข้าทำงาน แรงงานที่ไม่ถูกต้องจึงว่างงานมากขึ้น เนื่องจากค่าปรับที่ทางการตั้งไว้ปรับเจ้าของโรงงานมีอัตราสูง ทำให้นายจ้างไม่สามารถที่จะจ้างแรงงานที่ผิดกฎหมายได้ เพราะเมื่อแรงงานผิดกฎหมายถูกจับ นายจ้างต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนมากตามรายบุคคลที่โรงงานจ้างไว้ และโรงงานนั้นจะถูกสำนักงานแรงงานบันทึกรายชื่อว่าโรงงานนั้นได้จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายแรงงานทำงาน ทำให้ไม่สามารถที่จะรับแรงงานถูกต้องได้ และ  ถ้านายจ้างไม่มีค่าปรับ หรือแรงงานไม่มีนายจ้าง  หรือนายจ้างหลบหนี่  แรงงานต้องอยู่ในส่วนของการควบคุมแรงงานต้างด้าวเป็นเวลานาน เป็นเดือนก็มี และยิ่งถ้าแรงงานผู้นั้นไม่สามารถติดต่อกับคนข้างนอกได้ หรือไม่มีเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานราชการที่จะให้ความช่วยเหลือ ก็ยิ่งจะอยู่นาน  มีหลายคนที่อยู่ในสถานกักกันเป็นเวลาหลายเดือน  จนบางครั้งเพื่อนรุ่นใหม่ที่พอมีความรู้จะแนะนำให้ติดต่อกับฝ่ายต่าง ๆ หรือศูนย์ช่วยเหลือ หรือหน่วยงานราชการของประเทศที่แรงงานนั้นถูกจับ  หรือติดต่อญาติทางครอบครัวให้ดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งการถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานกักกันนาน ๆ มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้ต้องขังอย่างมาก และถ้าหากผู้ต้องขังเจ็บป่วย ก็อยากที่จะทำการรักษาดูแลอย่างดี นอกจากให้ยาบรรเทาพื้นฐานขั้นต้นให้ผู้ต้องขัง   มีแรงงานหลายคนเป็นโรคเครียด หรือบางรายเมื่อถูกจับตัวไปใหม่ ๆ มักจะถูกเพื่อนที่คุมขังทำร้ายร่างกายก็มี โดยมีกลุ่มที่ทำตัวเป็นนักเลงคุมอีกที เคยมีข่าวการร้องเรียนขอความช่วยเหลือว่าถูกเพื่อนที่ห้องขังด้วยกันทำร้ายร่างกาย   จึงอยากให้ผู้ที่เดินทางเข้ามำในประเทศเกาหลี และคิดทำธุรกิจที่ผิดต่อกฎหมายของประเทศต้องระวังและคิดให้ดี   เพราะโทษของการทำผิดกฎหมายแต่ละข้อไม่ใช่เรื่องที่จะต่อรองหรือร้องขอความเห็นใจจากหน่วยงานของรัฐนั้นได้ เพราะเขาถือว่าคุณตั้งใจทำผิดกฎหมาย มีกรณีตัวอย่างที่ผู้เดินทางเข้าประเทศเกาหลีและทำธุรกิจผิดกฎหมายทางการของเกาหลีจับได้และติดอยู่ในเรือนจำนานหลายเดือน เพื่อที่จะสอบหาต้นตอของการทำผิดกฎหมาย ทำให้บุคคลนั้น ๆ ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากถึงกับต้องขายทรัพย์สินที่มีอยู่ทางประเทศบ้านเกิดเพื่อมาชดใช้ให้กับรัฐบาลเกาหลี ไม่ใช่น้อย และบางรายถึงกับครอบครัวแตกแยก  เป็นข่าวให้เห็น

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการทำงานในประเทศเกาหลี

 การเจ็บป่วยในเกาหลี

แรงงานที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศเกาหลี ก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศได้ทำการตรวจสุขภาพแล้ว   ถ้าผลการตรวจสุขภาพไม่เป็นปัญหา ไม่มีโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง 17 ชนิด ก็สามารถที่จะเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศได้  แม้ว่าผลการตรวจสอบจากโรงพยาบาลจะออกมาว่าไม่มีโรคที่เป็นปัญหากับสุขภาพ สามารถเดินทางไปทำงานได้ในประเทศนั้น ๆที่กำหนดเรื่องของโรคที่ระบุว่าต้องไม่เป็นปัญหาหรือทำให้เกิดการติดต่อแพร่ระบาดทำให้เป็นโรคติดต่อร้ายแรง  แต่ทว่าเมื่อแรงงานได้เดินทางไปยังประเทศปลายทางเพื่อทำงาน บางคนเกิดโรคในช่วงระยะเวลาของการเดินทางมาทำงานไม่ถึง 6 เดือนก็มี เมื่อเข้าไปทำการตรวจรักษาหลังจากเกิดอาการแล้ว ปรากฎว่ามีแรงงานหลายคนเป็นโรคต้องห้ามของประเทศนั้น เช่นไวรัสตับบี   วัณโรค  โรคจิต(ต้องกินยาเป็นประจำ)โรคจิตนั้นไม่ได้เกิดอาการผิดปกติให้ตรวจสอบได้ แต่เมือ่เกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อผู้ป่วย จึงรู้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคจิค (ตรวจสอบยาก) หรือโรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์(ที่ตรวจสอบไม่ได้ภายในเวลา 1-2 เดือน) เกิดแล้ว 3-5 ปี ถึงจะปรากฎอาการ  และโรคอื่น ๆ  ที่ระบุว่าเป็นโรคต้องห้าม ซึ่งแรงงานต้องทำการตรวจก่อนที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ แต่เมื่อแรงงานไปถึงประเทศที่แรงงานต้องทำงาน เมื่อทำงานและเกิดการเจ็บป่วยถึงได้พบโรคต้องห้ามที่เกิดกับแรงงงาน เข้ามาทำงานในประเทศ  ส่วนมากจะพบว่ามีหลายคน เกิดหลังจากเดินทางเข้ามาทำงานแล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน เหตุที่ปรากฎอาการให้เห็น เนื่องจากสภาวะของสิ่งแวดล้อมในประเทศ อุณหภูมิ อากาศ และบ่อเกิดของโรคเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานอย่างหนัก  การทำงานในสถานที่เป็นบ่อเกิดของการฟักตัวของเชื้อโรคแต่ละฃนิด ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำเมื่อมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะเชื้อ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แรงงานที่เจ็บป่วย  ต้องเข้าทำการรักษาตัวในโรงพยาบาลต่าง ๆ และถ้าโรงงานนั้นมีความรับผิดชอบต่อแรงงานด้วย แรงงานคนนั้นจะได้รับการดูแลรักษาตามขึ้นตอน แต่ถ้าหากเจอโรงงานที่ไม่ได้สนใจในการเจ็บปว่ยของแรงงาน  ทำให้แรงงานนั้นต้องรักษาตัวเองตามมีตามเกิด  หากแรงงานไม่เข้าใจ ไม่รู้ภาษา ไม่มีใครแนะนำ หรือช่วยเหลือ แรงงานนั้นต้องได้รับทุกขเวทนาจากการเจ็บป่วย หรือมีบางรายถึงกับเสียจริต พิการ หรือเสียชีวิตได้ มีให้เห็นเป็นข่าวหลายราย ที่แรงงานเกิดเจ็บป่วย ไม่ว่าการเจ็บป่วยนั้นจะมาจากตนเองหรือจากการทำงานในโรงงานก็ตาม

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

หลักสำคัญในการกรอกแบบฟอร์มใบหางานในประเทศเกาหลี สำหรับแรงงานเดินทางกลับประเทศไทย

แรงงานไทยในเกาหลี

กรอกแบบฟอร์มทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาเกาหลีด้วยหมึกสีเข้ม หมายเลขบัตรประจำตัว(ใบการ์มา)  เบอร์โทรศัพท์ในเกาหลี เบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทย (ของตนเอง)   ทุกอย่างต้องกรอกให้ครบเพื่อช่วยในการหางานในประเทศเกาหลี จะมีรายละเอียดดังนี้ 1. ชื่อ นาม-สกุล  ต้องกรอกให้ตรงกับใบการ์มา หมายเลขบัตรประจำตัวในใบการ์มา ต้องใส่ให้ครบ  หมายเลขหนังสือเดินทาง สัญชาติ วันสิ้นสุดการที่อาศัยในประเทศเกาหลี ซึ่งบอกไว้ในใบการ์มา และวันที่เดินทางออกนอกประเทศ ที่แน่นอน ความสามารถในการใช้ภาษาเกาหลี ระดับการใช้ภาษา ดีมาก ดี ปานกลาง ไม่ได้  หรือสูง กลาง ต่ำ การศึกษาขั้นสุดท้าย ประถม มัธยม อุดมศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย   วิชาเอก-โท สาขาวิชา  ต้องกรอกให้ละเอียดชัดเจน  ที่อยู่ที่เมืองไทยที่สามารถติดต่อได้  เบอร์โทรศัพท์ ในประเทศไทยและประเทศเกาหลี ทั้งเบอร์ที่บ้านและเบอร์มือถือที่ติดต่อได้  ชื่อบริษัท  หมายเลขโทรศัพท์ของโรงงาน ของนายจ้าง   ที่อยู่ของบริษัท/โรงงาน (กรอกเป็นภาษาตนเองได้ ในกรณีที่ของที่อยู่ในประเทศตน)  บอกรายละเอียด อาชีพ ที่ต้องการ อันดับ1 อันดับ 2 และ 3 ทั้งหมด และสามารถกรอกได้ว่าไม่จำกัดประเภทของงาน  ประเภทอาชีพที่คาดหลัง เช่นอาชีพบริการ อุตสาหกรรมการผลิต  อาชีพบริหาร  และธุรกิจการก่อสร้าง ในส่วนเนื้อหาของงานไม่ควรกรอกเป็นภาษาของตนเอง ควรกรอกประเด็นรายละเอียดสาขาที่ต้องการในประเภทอาชีพที่คาดหวัง   พื้นที่ที่คาดหวังในการทำงาน/หรือจังหวัด เช่น เกาหลีใต้ กรุงโซลเป็นเมืองใหญ่ คยองกีโด (อันซาล ซูวอน ฯลฯ ) เงินเดือนที่ต้องการไม่ต้องกรอกเงินเดือนที่ได้รับในขณะทำงาน  ให้กรอกเงินเดือนต่ำสุดที่สามารถได้รับอยู่ ณ ปัจจุบัน จำนวนเงินให้กรอกเป็นเงินสหรัฐ (ดอลลาร์  = US )  ถ้ามีใบประกาศหรือความรู้ความสามารถพิเศษอื่นๆ  ให้กรอกลงแสดงความสามารถพิเศษด้วยในใบหางาน

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

แรงงานไทยที่ทำเรื่องย้ายงานเมื่อไม่ได้งาน จะทำอย่างไร

การย้ายงานที่เกาหลี


การที่แรงงานไทยเข้ามาทำงานในระบบ  EPS  และเมื่อมีปัญหาในเรื่องการทำงาน ได้ทำเรื่องขอย้ายเพื่อไปทำงานที่โรงงานอื่น  โดยที่มีใบย้ายงานจากนายจ้างและสำนักงานแรงงานเรื่องการย้ายงานซึ่งมีกำหนด 2 เดือน และภายในกำหนดยังไม่ได้งานจะทำอย่างไร  ในกรณีที่ย้ายงานและยังหางานไม่ได้ ต้องมองดูว่าสาเหตุเกิดจากอะไร  เพราะระยะเวลา 2 เดือนนั้น มากพอสำหรับคนที่ต้องการหางานทำและไม่เลือกงานว่าจะต้องทำงานตามต้องการ ทำงานในโรงงานที่มีสวัสดิการทุกอย่าง  ระยะเวลาการทำงาน  เงินเดือนต้องตามกำหนด   พื้นที่ในการทำงาน สถานที่ตั้งโรงงาน รายละเอียดของงานต้องหาตามที่ต้องการ นั่นคือปัญหาสำคัญ เพราะการหางานในที่ใหม่ไม่ได้ครบสมบรูณ์ตามที่ต้องการ เราจะต้องไปเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ทุก ๆอย่าง ถ้ารับกับปัญหาเริ่มต้นได้ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ารับไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมาอีก และการย้ายงานในเกาหลีให้ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ถ้าย้ายงานบ่อย เพราะทำไม่ได้ ก็จะไม่มีใครตอบรับการย้ายงานนั้น ๆ แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศเกาหลี ควรคิดให้ดีว่าการย้ายงานครั้งที่ 1 และ 2 นั้นเราได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน เพราะระยะเวลาของการหางานมีกำหนด 2 เดือน ถ้ายังหางานไม่ได้ เป็นเพราะเราเลือกมา เราจะทำอย่างไร จะหนีเพื่อให้กลายเป็นคนผิดกฎหมายหรือจะเดินหน้าสุ่ต่อไป ซึ่งการหางานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ 2 เดือนไม่น้อยสำหรับคนที่ต้องการทำงานโดยไม่เลือกว่าเป็นงานอะไร  แต่การย้ายงานถ้าในกำหนดยังหางานไม่ได้ และจะต้องทำอย่างไร นั้น  โดยปกติการย้ายงานถ้าหางานไม่ได้ตามกำหนด ก็ต้องกลับประเทศ แต่ถ้าในช่วงของการย้ายงานเกิดการเจ็บปว่ย มีใบแพทย์รับรองว่าป่วยจริง ทางการของสำนักงานแรงงานจะเป็นคนพิจารณาว่าจะขยายเวลาให้อีกเป็นระยะเวลาเท่าไหร ขึ้นอยู่กับใบรับรองแพทย์ อาการเจ็บป่วย  ถ้าไม่มีอาการป่วยหรือไม่มีหนังสือรับรองแพทย์มาแสดง ก็จะยึดเอา 2 เดือนที่ออกใบให้ไปหางานนั้น ๆ  และการให้ขยายเวลาหางานเพิ่มขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน ใบรับรองแพทย์  ไม่มีใครช่วยได้ นอกจากว่าหางานไม่ได้จริง ๆ และเวลาเหลือน้อย ติดต่อศูนย์ช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่ เขาจะหางานให้ทำ แต่ว่าคุณไม่สามารถที่จะเลือกงานได้ว่าต้องการงานชนิดไหน  คุณต้องทำงานตามที่เขาระบุมา    การหนีงานไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนคิดหนี เพราะเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ ตลอดเวลา

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเกาหลี


รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีโดยการจัดส่งของกรมการจัดหางานตามระบบ EPS


ค่าใช้จ่ายภายในประเทศ
1. ค่าทำหนังสือเดินทาง จำนวน 1,075 บาท
2. ค่าสอบ EPS – KLT  จำนวน 586 บาท
3. ค่าตรวจโรค จำนวน 1,500 บาท (สถานพยาบาลบางแห่งอาจมีค่าบริการต่ำกว่านี้)
4. ค่าฝึกอบรมภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี
    – ราชการ จำนวน 100 บาท *อาจมี่ค่าบำรุงสถานที่และค่าตำราเรียน แต่ไม่เกิน 600 บาท
    – เอกชน  จำนวน 6,500 บาท
5. ค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน จำนวน 12,200 บาท
6. ค่าสมาชิกกองทุนฯ จำนวน  500 บาท
     รวมประมาณ 16,461 – 22,361 บาท               
ค่าใช้จ่ายในสาธารณรัฐเกาหลี (ตามกฎหมายเกาหลีกำหนด)
1. ค่าประกันค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับ
     จำนวน 12,000 บาท (400,000 วอน)
2. ค่าประกันอุบัติเหตุ นอกเวลาทำงาน     
     จำนวน 1,500 บาท (50,000 วอน)
     รวมประมาณ 13,500 บาท
ดังนั้น รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี ตามระบบ EPS โดยการจัดส่งของกรมการจัดหางาน ทั้งหมดประมาณ 35,000 – 45,000 บาท
***อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการจัดหาแรงงานไทยไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีฯ ที่ สพร. ภาค 9 พิษณุโลก ไม่เกิน 1,000 บาท ***

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : epsthailand.wordpress.com